กลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อ รถยนต์มือสองในจังหวัดนนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมการซื้อรถยนต์มือสองที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในจังหวัดนนทบุรี และศึกษากลยุทธ์ส่งเสริมการขายมีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่ตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย Independent Sample t-test, One-way ANOVA, Least Significant Difference และ Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์ส่งเสริมการขายในภาพรวม และรายด้านทุกด้าน คือ ด้านการให้ส่วนลดและการคืนเงิน ด้านการให้ทดลองสินค้า ด้านการให้ข้อเสนอทางการเงิน และด้านการให้ข้อเสนอแจกของแถม มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก โดยด้านการให้ส่วนลดและการคืนเงินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด กระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองโดยภาพรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมาก โดยด้านการประเมินทางเลือกมีค่าเฉลี่ยสูงสุดผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุที่แตกต่างกันส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในภาพรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกัน สถานภาพสมรสส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองด้านการตระหนักถึงความต้องการแตกต่างกัน พฤติกรรมการซื้อรถยนต์มือสองที่แตกต่างกันส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน กลยุทธ์ส่งเสริมการขายในด้านการให้ส่วนลดและการคืนเงินมีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในระดับสูง ส่วน ด้านการให้ทดลองสินค้ามีความสัมพันธ์กับกระบวนการตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองในระดับต่ำ
Article Details
References
2. ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
3. ฐิติพงศ์ เพชรดี. (2555). พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความต้องการซื้อรถยนต์มือสอง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
4. นพรัตน์ ภูมิวุฒิสาร. (2556). การจัดการตลาด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
5. ประชาชาติธุรกิจ. (2561, ธันวาคม). กำลังซื้อหดทุบเต็นท์รถมือ2 ยอดร่วงระนาว รายเล็กเจ๊ง ทยอยปิดตัว. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/prachachat-top-story/news-271924.
6. พีรธณัฏฐ์ อุดมผล. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การส่งเสริมการขายกับผลการดำเนินงานทางการตลาดของธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
7. โพสต์ทูเดย์. (2561, มีนาคม). รถยนต์มือสองลุ้นปัจจัยบวกปีนี้หนุนภาพรวมโต 7%. สืบค้นจากhttps://www.posttoday.com/auto/545308.
8. รักษ์ษวรรณ ทรัพย์พึ่ง. (2558). พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความต้องการซื้อรถยนต์มือสอง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
9. วิลาสินี จันทร์แจ่มใย. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์ผ่านเต็นท์รถมือสอง.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
10. ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2556). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด : บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.
11. ศูนย์ข้อมูล & ข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. (2561, เมษายน). รอบ 10 ปีมีรถใหม่ในกรุงเทพฯ เพิ่มชั่วโมงละ 97 คัน!. https://www.tcijthai.com/news/2018/4/scoop/7889.
12. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560, ธันวาคม). ตลาดรถยนต์ไทยปี 61...ขยายตัวต่อร้อยละ 2 ถึง 5 ทางเลือกหลากหลายพร้อมนวัตกรรมใหม่กระตุ้น. สืบค้นจาก https://kasikornresearch.com/th/ analysis/k-econ/business/Pages/36729.aspx.
13. สถาบันยานยนต์. (2556). จะอยู่หรือจะไป...กับธุรกิจเต็นท์รถยนต์มือสอง. กรุงเทพฯ: แผนกพัฒนาอุตสาหกรรม.
14. สำนักงานขนส่งจังหวัดนนทบุรี. (2561, กุมภาพันธ์). สถิติจดทะเบียนสะสมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก https://www.dlt.go.th/site/nonthaburi/m-news/5988/view .php?_did=11343.
15. สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. (2561). บรรยายสรุปจังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี.
16. Md. Didarul Alam. (2014). Factors that Influence the decision when buying second-hand products!. Department of Marketing, Umeå School of Business and Economics (USBE).
17. Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.