สภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของวิศวกรโยธาในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

รัตนาภรณ์ ผิวนวล
ดารณี พิมพ์ช่างทอง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับสภาพแวดล้อมการทำงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของวิศวกรโยธา 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของวิศวกรโยธา และ 3) สภาพแวดล้อม และคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของวิศวกรโยธา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ วิศวกรโยธาในเขตห้วยขวาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 280 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วย One-way ANOVA, Least Significant Difference และ Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


ผลการศึกษาพบว่า สภาพแวดล้อมการทำงานประกอบด้วย ทางกายภาพ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม คุณภาพชีวิตในการทำงานประกอบด้วย ด้านสิ่งตอบแทน สภาพการทำงานที่ปลอดภัย โอกาสก้าวหน้า และการได้รับการยอมรับในสังคม และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของวิศวกรโยธาในภาพรวม มีความสำคัญในระดับมากทุกด้าน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงานมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของวิศวกรโยธา ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า สภาพแวดล้อมการทำงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยสภาพแวดล้อมการทำงานทางสังคมมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากที่สุด โดยมีค่า r = 0.523 รองลงมาคือ สภาพแวดล้อมการทำงานทางกายภาพโดยมีค่า r = 0.420 นอกจากนี้ยังพบว่าคุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการได้รับการยอมรับในสังคมมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากที่สุด โดยมีค่า r = 0.587 รองลงมาคือ คุณภาพชีวิตในการทำงานด้านการให้สิ่งตอบแทนที่ยุติธรรม โดยมีค่า r = 0.421

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กฤษดา เชียรวัฒนสุข, รัชนี แก้วมณี, นีรนุช สายสุยา และ สุภัสสรา กิริกา. (2561). แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ เบทาโกรสเปเชียลตี้ฟู้ดส์ จำกัด. วารสารการตลาดและการจัดการ, 5(2), 55-69.
2. ชุติมา มาลัย. (2538). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความพึงพอใจในการทำงานและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การกับการปฏิบัติตนของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเครือสมิติเวช. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. ธนาภรณ์ ลีสุริยาภรณ์. (2547). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท เอส. แอล. พาราวู้ด จำกัด. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
4. นิ่มนวน ทองแสน. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานกลุ่มธุรกิจผลิตเครื่องสำอางเขตจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
5. ภุมรินทร์ ทวิชศรี. (2554). ความคาดหวังและความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท บริษัท พรอคเตอร์แอนด์ แกมเบิลแมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
6. มานะ พิจุลย์. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพและคุณภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ความ ปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
7. วรวรรณ ตอวิวัฒน์. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ กรณีศึกษา ข้าราชการกรมศุลกากร ที่สังกัดส่วนกลาง (คลองเตย). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.
8. สมยศ แย้มเผื่อน. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานปฏิบัติการ บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิสส์ (จำกัด). สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
9. อภิชญา ศักดิ์ศรีพยัคฆ์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการทำงานของพนักงานชาวไทยในอุตสาหกรรมบริการที่ทำงานในประเทศสิงคโปร์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
10. อุสุมา ศักดิ์ไพศาล. (2556). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
11. Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.