รูปแบบและกระบวนการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของเครือข่ายประมงพื้นบ้านตราดและจันทบุรีด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและภูมิปัญญาชาวบ้าน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของเครือข่ายประมงพื้นบ้านตราดและจันทบุรีเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลคือกลุ่มประมงพื้นบ้านตราดและจันทบุรี จำนวน 8 กลุ่ม จัดเวทีเสวนา 18 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบและกระบวนการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม คือ 1. การนำแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมาใช้ขับเคลื่อนกระบวนการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของเครือข่ายประมงพื้นบ้านโดยผ่านกิจกรรมการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง กิจกรรมลดรายจ่าย และกิจกรรมเพิ่มคุณภาพชีวิต 2.ระบอบประชาธิปไตยคือรูปแบบแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม 3.การสร้างและการขยายเครือข่ายส่งผลให้กระบวนการลดความเหลื่อมล้ำขับเคลื่อนไปได้
Article Details
บท
บทความวิจัย
References
1. ชลพรรณ ออสปอนพันธ์. (2561). โครงการวิจัยเพิ่มศักยภาพเครือข่ายประมงพื้นบ้านตราดและจันทบุรีด้วยหลักเศรษฐกิจและภูมิปัญญาชาวบ้าน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 12 (ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม) : 160-169
2. เสรี พงศ์พิศ. (2548) เครือข่าย. [online]. แหล่งที่มาของข้อมูล: http://www.phongphit.com/Content/ view/84/2/: 2559.
3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. [online]. เข้าถึงได้จาก : www.nesdb.go.th. 2562.
4. อัมพร ธำรงลักษณ์และคณะ. (2557). รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แนวหลังสมัยนิยม กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
2. เสรี พงศ์พิศ. (2548) เครือข่าย. [online]. แหล่งที่มาของข้อมูล: http://www.phongphit.com/Content/ view/84/2/: 2559.
3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. [online]. เข้าถึงได้จาก : www.nesdb.go.th. 2562.
4. อัมพร ธำรงลักษณ์และคณะ. (2557). รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แนวหลังสมัยนิยม กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.