การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็น สำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนารูปแบบ และศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นสำหรับการสอนของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออก จำนวน 320 คน และผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออก จำนวน 320 คน ผู้เชี่ยวชาญในการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จำนวน10 คน ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบรูปแบบ จำนวน 9 คน และ ครูโรงเรียนวัดหนองเกตุใหญ่ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามการปฏิบัติงานของครูประถมศึกษาต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นสำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออก และแบบสอบถามความต้องการของผู้อำนวยการสถานศึกษาที่มีความคาดหวังต่อทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่จำเป็นสำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออก แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะ ได้นำมาสร้างเป็นคู่มือในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ตามขั้นตอนการฝึกอบรม และศึกษาผลการใช้รูปแบบ โดยการสำรวจความพึงพอใจ และการประเมินการรายงานประสบการณ์ของครูที่เข้ารับการอบรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)
ผลการวิจัย พบว่า
- ความต้องการจำเป็นในการในการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เมื่อพิจารณาตามความต้องการจำเป็น เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1) ทักษะด้านการจัดการเรียนการสอน 2) ทักษะด้านความเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม 3) ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ 4) ทักษะการพัฒนาหลักสูตรและรายวิชา 5) ทักษะด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้สู่วิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 6) ทักษะด้านการจัดการชั้นเรียนเพื่อการสร้างบรรยากาศเชิงบวก
- การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย “คู่มือการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออก” โดยแบ่งเป็น 4 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 ครูเพื่อศิษย์คิดเป็น เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, หน่วยที่ 2 ครู ผู้สร้าง มุ่งพัฒนา , หน่วยที่ 3 ปรับการเรียน เปลี่ยนการสอน แบบ 4.0 และหน่วยที่ 4 PLC สิ่งดี ๆสู่การพัฒนา มีความสอดคล้องและมีความเหมาะสม เป็นไปได้ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
- ผลการใช้รูปแบบการพัฒนา ฯ พบว่า ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนวัดหนองเกตุใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 25 มีระดับความพึงพอใจในเชิงประจักษ์ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีการประเมินการรายงานประสบการณ์ของครูที่เข้ารับการอบรม อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ). กรุงเทพฯ: สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ.
3. ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2556). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า: ตอนรูปแบบและทฤษฎี การเรียนรู้อนาคต.กรุงเทพ.
4. ธีรพัฒน์ ไชยสัตย์. (2542). ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานการส่งนักศึกษาออกฝึกงาน ของวิทยาลัยการอาชีพ สังกัดกรมอาชีวะ เขตการศึกษา 9. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
5. ทิศนา แขมณี. (2548). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์
6. พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557). การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ ๒๑. เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ"อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. กรุงเทพ.
7. พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2560). การศึกษาในศตวรรษที่ 21 . กรุงเทพ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
8. วรรณรัตน์ ลังกาวงศ์. (2546). การพัฒนาบุคคลในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนสังกัดองค์การศึกษาเพื่อคนพิการ กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา 7. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร
9. วิโรจน์ สารัตถะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
10. วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
11. วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ ๒๑. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสด-ศรีสฤษดิ์วงศ์.
12. วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้ สู่ศตวรรษที่ ๒๑. กรุงเทพฯ มูลนิธิสยามกัมมาจล.
13. วิชัย วงศ์ใหญ่. (2535). การพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร. กรุงเทพฯ : สุริยาสาสน์.
14. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สภาวะการศึกษาไทยปี 2557-2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยอย่างไรให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.
15. สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2550). การวิจัยการติดตามสภาวการณ์ครูรายจังหวัด (Teacher Watch) และการสร้างตัวแบบการพัฒนาครูที่สนองตอบสภาวการณ์และปัญหาในการทำงานของครู / สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. นครปฐม : สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
16. Cronbach, L. J.(1990).Essentials of Psychological Testing. 5 th ed. New York : HarperCollins.
17. Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. Newyork : Harper and Row Publication.