การศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF) ด้วย PC Model
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติที่มีการจัดกิจกรรมการสอนแบบ PC Model 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยวิธีการสอนแบบ PC Model 3) ศึกษาความคงทนของผลการเรียนรู้ด้านความรู้หลังจากเรียนด้วยวิธีการสอนแบบ PC Model และ 4) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการเรียนการสอนแบบ PC Model กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จำนวน 184 คน ได้มาจากเทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ 1 ฉบับ แบบสังเกตพฤติกรรม 3 ฉบับ แบบทดสอบ 2 ฉบับ และแบบสอบถาม 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบทีแบบสองกลุ่มไม่อิสระ (Dependent Sample t-test ) การทดสอบความแปรปรวนแบบวัดซ้ำทางเดียว (One-way Repeated Measures ANOVA)ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการสอน PC Model คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 1.1) ด้านคุณธรรม จริยธรรมคิดเป็นร้อยละ 65.85 1.2) ด้านความรู้คิดเป็นร้อยละ 54.91 1.3) ด้านทักษะทางปัญญา คิดเป็นร้อยละ 72.67 1.4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบคิดเป็นร้อยละ 45.26 และ 1.5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีคิดเป็นร้อยละ 80.00 2) การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียน 2.1) ด้านคุณธรรม จริยธรรมไม่แตกต่างกัน 2.2) ด้านความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3) ด้านทักษะทางปัญญาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2.5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความรู้หลังจากเรียนด้วย PC Model ไปแล้ว 2 สัปดาห์ (ระยะติดตามผล) สูงกว่าหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (บ่งบอกถึงความคงทน) และ 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อวิธีการสอนแบบ PC Model ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.44)
Article Details
References
2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน: ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุนมุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
3. ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-19.
4. นภาพรรณ เอี่ยมสำอางค์. (2551). ผลการจัดการเรียนการสอนตามโมเดลการสอน BSCS 5E เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
5. เดชดนัย จุ้ยชุม. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทักษะการคิดของนักศึกษาในรายวิชาทักษะการคิด (Thinking Skills) รหัสวิชา 11-024-112 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2558 ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning). วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, (3)2.
6. ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2554). การประยุกต์ใช้ SPSS วิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. มหาสารคาม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
7. ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
8. พิธุลาวัณย์ ศุภอุทุมพร. (2559). ผลของการใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2550). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
10. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (Thai Qualifications Framework for Higher Education). http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/. 2561.
11. สันติวัฒน์ จันทร์ใด. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน CIPPA ที่บูรณาการกระบวนการเรียนรู้วรรณคดีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้และเจตคติต่อวรรณคดีไทยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสาธิต. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.