แนวทางการใช้ประโยชน์จากน้ำกากส่าจากการผลิตสุราสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

Main Article Content

รัชฎา เลกุล
วิสาขา ภู่จินดา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการใช้ประโยชน์จากน้ำกากส่าในเชิงพลังงานและเชิงเกษตรกรรม  เปรียบเทียบผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (SROI) และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมจากปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent) ตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในการจัดการน้ำกากส่าและเกษตรกรที่เพาะปลูกอ้อยโดยใช้น้ำกากส่าในการเกษตร วิเคราะห์ข้อมูลออกเป็น 2 ลักษณะ คือการวิเคราะห์เชิงพรรณนา สภาพทั่วไปทางด้านการใช้ประโยชน์จากน้ำกากส่า และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนและวิเคราะห์ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent) ตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์


 ผลการศึกษาพบว่า การใช้ประโยชน์คือใช้ในเชิงพลังงานและเชิงเกษตรกรรม โดยมีผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนมีค่าเท่ากับ 2.96 และ 22.28 ตามลำดับ เนื่องจากการใช้ประโยชน์น้ำกากส่าเชิงพลังงานมีต้นทุนการลงทุนด้วยเทคโนโลยีแต่การใช้ประโยชน์น้ำกากส่าเชิงเกษตรกรรมมีต้นทุนการลงทุนในการปรับสภาพน้ำกากส่าน้อยและผลตอบแทนที่ได้จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรที่ใช้ประโยชน์จากน้ำกากส่า และยังเป็นการสร้างคุณค่าให้กับโรงงานสุราซึ่งเป็นกิจกรรมแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้การเพาะปลูกอ้อยมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงที่สุด 0.3349 Ton CO2e /  ไร่การเพาะปลูกอ้อย  รองลงมาคือการใช้ประโยชน์ในเชิงพลังงานเท่ากับ 0.2960 Ton CO2e /ไอน้ำ 1 ตัน และการใช้ประโยชน์เชิงเกษตรกรรมปลดปล่อยน้อยที่สุดคือ 0.0224 Ton CO2e / 1 รอบการขนส่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กลุ่มส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ. (2561). ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากอ้อยและสภาวการณ์ข้อมูลการผลิตอุตสาหกรรม.สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. 9-10.
2. เกียรติศักดิ์ พันธ์พงศ์ นวิทย์ เอมเอก และธิวาริ โอภิธากร. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำกากส่าของโรงงานสุรากลั่นชุมชนโดยใช้กลยุทธ์การหมักร่วม.รายงานวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
3. ทัศนีย์ ดิฐกมล และสมบูรณ์ แก้วปิ่นทอง. (2547). ประโยชน์น้ำกากส่าสำหรับการผลิตข้าวจังหวัดขอนแก่นวารสารวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง. 7(ฉบับพิเศษ), 132-151
4. ทัศนา บุญประจำ. (2553). อิทธิพลของน้ำกากส่าต่อการเจริญเติบโตระยะแรกของอ้อยปลูก.การประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 11.หน้า 704-711.มหาวิทยาลัยขอนแก่น
5. พงศ์เทพ สุวรรณวารี และคณะ(2556) วอเตอร์และคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการผลิตน้ำตาลทรายขาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย กรณีศึกษา: จังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. : 58-60.
6. ไพจิตรา กระแจหิน. (2552). การใช้ประโยชน์จากน้ำกากส่าเพื่อผลิตไฮโดรเจน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.
7. ศุภัชญา ชนชนะภัย. (2550). การใช้น้ำกากส่าของโรงงานสุราในการทำน้ำสกัดชีวภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. สุนันท์ พูลธนกิจ. (2547). การบำบัดน้ำกากส่าของโรงงานสุรา องค์การสุรา โดยกระบวนการยูเอเอสบี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
9. โสภณ กิติ และคณะ(2549). รูปแบบการใช้ประโยชน์จากส่าเหล้าเพื่อเสริมสร้างรายได้และลดปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชนโดยความร่วมมือของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีแพร่และเกษตรกรผู้ผลิตสุราพื้นบ้านตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานภาค : 87.
10. วรรณวิจิตร พนมเชิง (2555). การศึกษาเทคโนโลยีบำบัดน้ำกากส่าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในอุตสาหกรรมผลิตสุรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร
11. องค์การสุรา. (2560). สถิติข้อมูลเกี่ยวกับแอลกอฮอล์. กรมสรรพสามิต. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2561, จาก http://www.liquor.or.th/aic/detail/สถิติข้อมูลเกี่ยวกับแอลกอฮอล์