ความพึงพอใจของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

มนตรี เกิดมีมูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจและปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของประชาชนในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจด้วยตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างของการศึกษา คือ ประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่  ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ ในพื้นที่อีก 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ได้แก่ จะนะ เทพา นาทวี และ สะบ้าย้อย รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 4,500 คน การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย   ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการแก้ไขปัญหาทุกด้านในระดับมาก ปัจจัยลักษณะภูมิหลังทางด้านประชากรที่มีผลต่อความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างในการแก้ไขปัญหา ได้แก่  เพศ ระดับการศึกษา และศาสนา และปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่มีผลต่อความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างในการแก้ไขปัญหา ได้แก่ อาชีพ ตำแหน่งหน้าที่ทางสังคม เหตุผลของการพักอาศัยอยู่ในพื้นที่ และระยะเวลาที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ ข้อเสนอแนะในการวิจัยคือ 1) หน่วยงานภาครัฐควรเพิ่มโอกาสในการพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับประชาชนในพื้นที่ 2) ควรให้การสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและอุตสาหกรรมในท้องถิ่น เพื่อสร้างงานและรายได้ให้แก่คนในชุมชน และ 3) ควรสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนที่เป็นมุสลิม เพื่อให้มีความรู้ ทักษะ ที่เหมาะสมเพียงพอสำหรับการประกอบอาชีพ และเพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กัมปนาท นาดามัน และ วรรณชนก จันทชุม. (2556). ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อประชาชนในพื้นที่ตำบลคลองใหม่ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการ อัล-ฮิกมะฮู มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา. 3(กรกฎาคม – ธันวาคม) : 23-36.
2. นริศร เข้มข้น. (2549). ความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่ต่อบทบาทของทหารในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษาเขตพื้นที่ อ.เมือง จ.ยะลา. ภาคนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
3. นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2556). สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ความเป็นสถาบันและการกระทำภายใต้ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยม. วารสารสุทธิปริทัศน์. 27(ตุลาคม – ธันวาคม) : 77-90.
4. บายฮียะ เจ๊ะต๊ะ และ ชนิษฎา ชูสุข. (2558). เหตุการณ์ความไม่สงบที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของเทศบาลตำบลตันหยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี. ใน เอกสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 26 มิถุนายน 2558 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
5. บุญเอื้อ บุญฤทฺธิ์. (2556). การก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กับอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่และพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ. วารสารเกษมบัณฑิต. 14(กรกฎาคม – ธันวาคม) : 46-56.
6. ฟิรนันท์ จารง, บุญทัน ดอกไธสง และ วิมล หอมยิ่ง. (2558). ประสิทธิผลการนำสันติสุขกลับคืนสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้. สักทอง : วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 21(กันยายน – ธันวาคม) : 160-169.
7. มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธ์. (2559). บทความเรื่อง แนวคิดเรื่องพหุนิยมเบื้องต้น. [Online]. เข้าถึงได้จาก: lek-propai.org/home/view.php?id2443.
8. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). สถานการณ์รุนแรงไฟใต้ ปีที่ 10 เดินหน้าสู่วิถี ”เจรจา”. คุณภาพคนไทย 2556. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
9. สมบูรณ์ บุญฤทธิ์. (2549). การศึกษาผลกระทบต่อการปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุ สามเณร ในจังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. รายงานวิจัยโดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
10. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ. (2558). นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๔. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
11. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2558). นโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี 2540-ปัจจุบัน. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://parliament.go.th/library.
12. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2561). ระบบสถิติทางการทะเบียน. [Online]. เข้าถึงได้จาก : stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showProvinceData/php.
13. อกัณห์มณี ลียาชัย. (2556). ปัจจัยและผลกระทบของสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีผลต่อธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กในอำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 4 (เมษายน – กันยายน) : 18-40.
14. อภิรัฐ บุญศิริ. (2559). วิถีชีวิตของครอบครัวกับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบชายแดนใต้ : กรณีศึกษาเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจชายแดนใต้จังหวัดสงขลา ตั้งแต่ พ.ศ.2547-2551. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 11(มกราคม – มิถุนายน 2559) : 237-254.
15. อับดุลคอเล็ต เจะแต. (2560). มุมมองของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสาร อัล ฮิกมะฮู. 7(มกราคม – มิถุนายน) : 15-24.
16. ฮาฟิสสา สา และ เอกรินทร์ ต่วนศิริ. (2553). สภาพการดำเนินชีวิตครอบครัวที่ประสบปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และบริการทางสังคมสำหรับครอบครัว. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการครอบครัวศึกษา ปี 2553 “ร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ สู้วิกฤตครอบครัวไทย” 11 – 12 กุมภาพันธ์ 2553 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
17. Croissant, A. (2005). Unrest in South Thailand : Contours, Causes, and Consequences Since 2001. Contemporary Southeast Asia. 1(April) : 21-43.
18. LaFree, G., et al. (2006). Building a Global Terrorism Database. [Online]. Available: http : //www.ncjrs.gov/pdffiles1/nij/grants/214260.pdf.
19. Yamane, Taro. (1973). An Introductory Analysis. New York : Harper and Row.