การพัฒนาบะหมี่สดเสริมผักเหลียง

Main Article Content

เสาวพรรณ ปาละสุวรรณ
สุภาพร สุวรรณรัตน์
นฐพล จันทร์ชู

บทคัดย่อ

งานวิจัยการพัฒนาบะหมี่สดเสริมผักเหลียง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์บะหมี่สดเสริมใบผักเหลียง โดยศึกษาการใส่ใบผักเหลียงในรูปแบบน้ำผักเหลียงลงในส่วนผสมของบะหมี่สดในปริมาณที่ความเข้มข้นแตกต่างกัน 3 ระดับ คือ ร้อยละ 20, 30 และ 40 ของน้ำหนักส่วนผสม จากการทดสอบคุณภาพทางกายภาพของเส้นบะหมี่สด โดยทดสอบวัดค่าสีของเส้นบะหมี่ และวัดค่าความต้านทานต่อการดึงขาดของบะหมี่ พบว่าเมื่อ ปริมาณความเข้มข้นของผักเหลียงเพิ่มมากขึ้น ค่าความสว่าง (L*) ค่าความเป็นสีเหลือง (b*) และค่าความเป็นสีเขียว (-a*) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อปริมาณความเข้มข้นน้ำผักเหลียงเพิ่มขึ้นค่าความต้านทานการดึงขาดลดลง และการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านความชอบ ด้วยวิธี 5-point hedonic scale พบว่าบะหมี่สดที่ใส่น้ำผักเหลียงที่ความเข้มข้นร้อยละ 30 มีคะแนนความชอบมากที่สุด ที่นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีความแตกต่างทางสถิติกับบะหมี่สดที่ใส่น้ำผักเหลียงร้อยละ 20 และ 40

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมอนามัย. (2544). ตารางแสดงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารไทย. (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://nutrition.anamai.moph.go.th/images/file/nutritive_values_of_thai_foods.pdf. 1 มิถุนายน 2561
2.คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2560). สรรพคุณผักเหลียง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.natres.psu.ac.th/FRN/vfsouthern/index.php.1 มิถุนายน 2561.
3. นฤมล พงษ์รามัญ, สิรินันท์ พ้นภัย, กุลยา ลิ้มรุ่งเรืองรัตน์. (2554). ผลของการเติมผักโขมผงต่อคุณภาพของบะหมี่แห้ง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 (พิเศษ) พฤษภาคม – สิงหาคม: 447-480
4. พีรดา แซ่เตี้ยว. (2555). การใช้เกษตรดีที่เหมาะสมในการผลิตผักเหลียงของเกษตรกรในตำบลราชกรูด อำเภอเมือง จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
5. สุธาชีพ ศุภเกษร. (2527). ต้นผักเหลียงผักพื้นเมืองที่น่าสนใจ. วารสารกสิกร. ปีที่ 57 หน้า 5-11