ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี

Main Article Content

ติยาพร ธรรมสนิท
บดินทร์ ปั้นบำรุงกิจ
ปภินวิชตฎ์ โพธิ์กาศ
ธีรชัย วะนากลาง

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกาย  เปรียบเทียบพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้ และปัจจัยด้านการรับรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย การรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกาย การรับรู้ภาวะสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสิ่งแวดล้อมกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ปีการศึกษา 2557  โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จากตารางสำเร็จรูปที่ใช้สูตรของเครจซี่และมอร์แกนจำนวน 370 คน จากวิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random) ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .26-.53 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ.83วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (T-test) การทดสอบค่าเอฟ(F-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way-Analysis of Variance) การทดสอบค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของแอลเอสดี (LSD Method) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการศึกษาพบว่า


                        1.นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีพฤติกรรมการออกกำลังกาย ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกาย การรับรู้ภาวะสุขภาพแรงสนับสนุนทางสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย อยู่ในระดับสูง


                        2.นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่มีเพศ คณะที่ศึกษาต่างกัน


มีพฤติกรรมการออกกำลังกายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                        3.ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี


                        4.การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย การรับรู้ภาวะสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ส่วนการรับรู้อุปสรรคการออกกำลังกายมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                        5.ปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี ได้แก่ การรับรู้อุปสรรคของการออกกำลังกาย เพศ คณะที่ศึกษา และการรับรู้ภาวะสุขภาพ ร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 18.6 โดยสามารถเขียนเป็นสมการถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอนจากคะแนนดิบดังนี้


Y= 7.410 + 0.0360X4 + 1.495X1.1 +0.002X1.2 + 0.0278X5

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กนกลดา อัมยงค์. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สุขศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
2. ชาตรี ประชาพิพัฒน์และนฤพนธ์วงศ์จตุรภัทร. (2545). แนวทางการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. มหาวิทยาลัยบูรพาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การกีฬา.
3. ชื่น ศิริรักษ์. (2547). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลในภาคกลางสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (สุขศึกษา) บัณฑิต วิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
4. ณัฐภรณ์ ผลึกเพชร. (2547). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐจังหวัดพัทลุง. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. (สุขศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
5. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. (สุขศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.ทัศนันท์ กาบแก้ว. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาผู้ช่วยพยาบาลโรงพยาบาล เวชศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยมหิดล. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
6. ทิวาวัน คำบรรลือ. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลในภาคกลางสังกัดพระบรมราชนกกระทรวงสาธารณสุข. ปริญญานิพนธ์วิทยาศสตรมหาบัณฑิต(สุขศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
7. นิรันดร์ พลรัตน์และคณะ. (2547). “ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ รังสิต.” วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 12(1):65-71.
8. ปนัดดา จูเภา. (2544). พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน มัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาอำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา´ ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต(สุขศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
9. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์.
10. พัชรีพันธ์ ตรีศักดิ์ศรี. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
11. ไพบูลย์ ศรีชัยสวัสดิ์. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนิสิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
12. มงคล แฝงสาเคน. (2548). รายงานวิจัยเรื่องพฤติกรรมสุขภาพและพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฎภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
13. มนัสวี เจริญเกษมวิทย์. (2546). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกายของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศูนย์เขต ภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลชุมชน) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
14. วิไลรัตน์ แสงวณิช. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารการออกกำลังกายและกีฬากับพฤติกรรมการ ออกกำลังกายและเล่นกีฬาของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาภาคเหนือ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
15. วุฒิพงษ์ ปรมัตถากร. (2537). การออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.
16. สดุดี ภูห้องไสย. (2541). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต วิทยาศาสตร์ (อนามัยครอบครัว) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.
17. สรัลรัตน์ พลอินทร์. (2543). “ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกาย การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายและสภาพแวดล้อมของวิทยาลัยกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย.”วารสารเพื่อสุขภาพ.12(2) : 44-45.
18. สิวาณี เซ็ม. (2542). การศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (พลศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
19. สุขภาพที่ดี(ออนไลน์). (2557). สืบค้นจาก http://www.siamhealth.net. 26 มกราคม 2558.
20. สุดกัญญา ปานเจริญและปริทรรศน์วันจันทร์. 2550. “ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย” วารสารสภาการพยาบาล. 22(3):80-90.
21. สุธี คำคง. (2544). ข้อมูลพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชนจังหวัดตรัง. สืบค้นเมื่อวันที่ 15มกราคม 2552. จาก http://203.157.230.14/Hed/pso6.Htm
22. http://203.157.230.14/Hed/pso6.Htm สุรีย์ พันธ์รักษ์. (2546). “การศึกษาการออกกำลังกายของนักศึกษาสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงปีการศึกษา 2545.” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง. 6: 137-144.
23. Brown, SA. (2005). Measuring Perceived Benefits and Perceived Barriers for PhysicalActivity. American Journal of Health Behavior. 29(2) : 107-116.
24. Courneya, K.S & others. (2000). “Social Support and the Theory of Planned Behavior in the Exprcise Domain.” American Journal of Health Behavior. 24(4): 300-308