คุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว

Main Article Content

มนตรี เกิดมีมูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว   การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจด้วยตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาได้แก่เกษตรกรที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดต่างๆ รวม 8 จังหวัด ได้แก่  เชียงใหม่ พิษณุโลก พระนครศรีอยุธยา นครนายก อุบลราชธานี สุรินทร์ สงขลา และนครศรีธรรมราช การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน รวมจำนวนตัวอย่างในการศึกษาทั้งสิ้น 2,112 คน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์   และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆกับคุณภาพชีวิตแต่ละด้าน โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน t-test และ F-test  ที่ระดับนัยสำคัญ .05


ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านการทำงาน ได้แก่  รายได้จากโครงการรับจำนำข้าว ภาระหนี้สินในระบบหลังเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว และลักษณะการถือครองที่ดิน ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านครอบครัว ได้แก่  สถานภาพสมรส  รายได้จากโครงการรับจำนำข้าว และภาระหนี้สินในระบบหลังเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ได้แก่  ภาระหนี้สินในระบบหลังเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว และปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตด้านชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน ได้แก่  รายได้จากโครงการรับจำนำข้าว และภาระหนี้สินในระบบหลังเข้าร่วมโครงการรับจำนำข้าว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กุสุมา โกศล. (2555). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางในยุคเศรษฐกิจถดถอย: ศึกษากรณีจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
2. ปิ่นสะอาด สหนาวิน. (2553). คุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
3. พัชนี ยมาภัย. (2550). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรในจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาคหกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
4. พัชรี หล้าแหล่ง. (2556). การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้. รายงานผลการวิจัยเสนอต่อมหาวิทยาลัยแม่โจ้.
5. เพ็ญนภา คุ้มโหมด. (2551). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ ศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
6. ศุภรทิพย์ นิลารักษ์. (2557). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางภายในเขตพื้นที่จังหวัดตราด. งานนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
7. สามารถ มังสัง (2555). ราคาผลผลิตตกต่ำ : ปัญหาเรื้อรังของเกษตรกร. ค้นวันที่ 21 เมษายน 2559 จากhttp://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000129284.
8. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สำมะโนการเกษตร พ.ศ.2556 ทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
9. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2554). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา 23 สิงหาคม 2554. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
10. สุภา แก้วบริสุทธิ์. (2547). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางพาราจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการพยาบาลอนามัยชุมชนมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
11. สุระ เสียงสนั่น. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรหุบกระพง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์เกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
12. อนุชาติ พวงสำลี และ อรทัย อาจอ่ำ. (2541). การพัฒนาเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตและสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
13. อัมพร ไทยขำ. (2553). คุณภาพชีวิตของเกษตรกร : กรณีศึกษาเกษตรกรปลูกไม้ยูคาลิปตัสในเขตพื้นที่ภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.