การพัฒนาการผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษจากไส้กกร่วมกับการใช้สีย้อมธรรมชาติ

Main Article Content

วรวรรณ สังแก้ว
วศิน ยุวนะเตมีย์
คณิสร ล้อมเมตตา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการทำกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษจากไส้กกร่วมกับการใช้สีย้อมจากธรรมชาติ  โดยศึกษากระดาษ 5 ชนิด คือ กระดาษไม่ฟอกสี กระดาษฟอกสี กระดาษย้อมสีดอกอัญชัน กระดาษย้อมสีลูกหนามแดง  และกระดาษย้อมสีขมิ้นชัน จากนั้นทดสอบความพึงพอใจต่อลักษณะทั่วไปของกระดาษ คือ สี  ความสม่ำเสมอ ความเหนียว การจับยึดเป็นแผ่น การไม่มีสิ่งปนเปื้อน การไม่มีรอยตำหนิ และการไม่มีเชื้อรา ทดสอบความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์กระดาษ 5 ชนิด คือ กระดาษห่อของขวัญ กระดาษห่อลูกกวาด พัดคลี่ โคมไฟ และดอกกุหลาบ  และทดสอบความพึงพอใจระหว่างเพศชายและหญิงที่มีต่อกระดาษและผลิตภัณฑ์ ในการผลิตกระดาษทำโดยการนำไส้กกแห้ง  200 กรัม มาต้มกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีความเข้นข้น ร้อยละ 52.92 จำนวน 30 กรัม นาน 2 ชั่วโมง 18 นาที ล้างน้ำให้สะอาด ทำการฟอกขาวโดยเติมโซเดียมไฮโปคลอไรท์ความเข้มข้นร้อยละ 6.00 ปริมาณ 300  มิลลิลิตร  ทิ้งไว้นาน 24  ชั่วโมง ล้างน้ำให้สะอาด จากนั้นจึงนำไปต้มกับน้ำสีที่ได้รับจากดอกอัญชัน ลูกหนามแดง และขมิ้นชัน  นาน  30 นาที  นำเส้นใยที่ได้รับไปปั่นจนละเอียด ใส่ลงในภาชนะที่เติมน้ำ ใช้ตะแกรงลวดขนาด A2 ช้อนเยื่อกระดาษ  นำไปตากแห้ง ได้รับกระดาษ 7 ± 0.71 แผ่น กระดาษมีคุณภาพดังนี้ น้ำหนักมาตรฐานเฉลี่ย 32.61 ± 4.84 กรัม  ความชื้นเฉลี่ยร้อยละ 7.36 ± 0.27 ความหนาเฉลี่ย 0.10 0.04  มิลลิเมตร และความเหนียวเฉลี่ยเท่ากับ 28.81 ± 9.62  กิโลนิวตัน


การทดสอบความพึงพอใจ พบว่าผู้ใช้กระดาษพึงพอใจที่ระดับมากต่อลักษณะทั่วไปของกระดาษ ยกเว้นความพึงพอใจที่ระดับปานกลางต่อกระดาษย้อมสีลูกหนามแดงด้านสีและความหนาสม่ำเสมอ  พึงพอใจที่ระดับมากที่สุดต่อกระดาษห่อของขวัญ พึงพอใจที่ระดับปานกลางต่อกระดาษห่อลูกกวาด และพึงพอใจที่ระดับมากต่อผลิตภัณฑ์กระดาษอื่น ๆ ผู้ใช้กระดาษเพศชายมีความพึงพอใจที่ระดับมากต่อกระดาษไม่ฟอกสี กระดาษฟอกสี กระดาษย้อมสีดอกอัญชัน และกระดาษย้อมสีขมิ้นชัน พึงพอใจที่ระดับปานกลางต่อกระดาษย้อมสีลูกหนามแดง พึงพอใจที่ระดับมากที่สุดต่อกระดาษห่อของขวัญและโคมไฟ พึงพอใจที่ระดับมากต่อผลิตภัณฑ์กระดาษอื่น ๆ ส่วนผู้ใช้กระดาษเพศหญิงพึงพอใจที่ระดับมากต่อกระดาษทุกชนิด พึงพอใจที่ระดับมากที่สุดต่อดอกกุหลาบ พึงพอใจที่ระดับมากต่อกระดาษห่อของขวัญ พัดคลี่ และโคมไฟ พึงพอใจที่ระดับปานกลางต่อกระดาษห่อลูกกวาด


การวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า วิธีการพัฒนาการผลิตกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษจากไส้กกร่วมกับการใช้สีย้อมธรรมชาติ  มีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้เป็นวัสดุในการทำผลิตภัณฑ์กระดาษเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เกษตรพอเพียงคลับ.คอม. (2558). มารู้จักสีผสมอาหารจากธรรมชาติได้มาจากอะไรบ้าง. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.kasetporpeangclub.com/…/…2453-สีจากธรรมชาติ.html 2558.
2. พนิดา บัวพันธ์.(2553). การแปรรูปต้นกก. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http//www.phanida300752.ob.tc/s4.html 2553
3. ภาณุมาศ สุยบางดำ, สุพัตรา เพ็งเกลี้ยง, พณิตา คชกูล, อำมรรัตน์ ฤทธิเดช, ปรีชา ชัยกูล, ปิยวรรณ แก้วยอด และอัมรินทร์ สันตินิยมภักดี. (2552). การพัฒนากระดาษจากใบสับปะรดเพื่อใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยทักษิณ ครั้งที่ 19 ประจำปี 2552.
4. มยุรี เรืองสมบัติ, ยุวดี พรธาราพงศ์, ทินวงษ์ รักอิสสระกุลและมัณฑนา ทองสุพล. (2554). กระดาษจากมูลช้าง ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.green.in.th/ node/2239. 2554.
5. โรงพิมพ์ บริษัท เบญจผล จำกัด. (2015). ชนิดของกระดาษ. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http//print-at-bp.comtips2. htm. 2015.
6. วรวรรณ สังแก้ว. (2550). การนำวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตเสื่อกกเพื่อผลิตกระดาษกกและผลิตภัณฑ์กระดาษกก : การสร้างนวัตกรรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยี.รายงานการวิจัย เสนอต่อมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
7. สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปราจีนบุรี. (2553). จังหวัดปราจีนบุรีเป็นแหล่งปลูกต้นกกและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกก คุณภาพส่งออก. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://province.prd. Go.th/prachinburi/?name=news&file =readnews&id=22. 2553.
8. สำนักศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาชุมชน. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. (2558). กกและเสื่อจันทบูร. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.arts. rbru.ac.th/ indextp.php?pg=chan/ chan_pro.php&tp=t 2015.
9. ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ตาก.(2558). ไม้ย้อมสีธรรมชาติ. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://qsds.go.th/qthaisilk_center/inside.php?_option=page 2558.
10. ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ. (2551). การทำกระดาษจากวัสดุธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: ไอออนพริ้นติ้ง. Green.in.th. (2558). กระดาษจากมูลช้าง...ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://green.in.Th/node /2239 . 2558.
11. Canaan Stamper. (2554). ชนิดของกระดาษ. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.weloveshopping.com Template/a21/show_article.php?shopid=132164&qid…2554.
12. Field trip. (2558). สีจากธรรมชาติ. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://fieldtrip.ipst.ac.th/intro_sub_content. php%3Fcontent_id%3D28%26content_folder_id%3D2 .2558.
13. Thai Art Print. (2554). คุณสมบัติของกระดาษ. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://thaiartprint.com/paper3.html. 2554.
14. Thai Paper. (2554.)Quality Paper for Absolute Performance. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www. thaipaper.Com/fags.sep?mnu=knowledge&smnu=fags. 2554.