รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลอีสานเขต อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

สายฝน ภาพยนต์
จตุพร เหลืองอุบล
บัณฑิต วรรณประพันธ์

บทคัดย่อ

กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นเป็นการกระจายอำนาจด้านสุขภาพสู่ท้องถิ่น โดยมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมและสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคม การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาเครือข่ายในพื้นที่ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลอีสานเขตให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย คณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุนและตัวแทนกลุ่มต่างๆ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลอีสานเขต จำนวน 48 คน ด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยจัดให้มีกระบวนการพัฒนาตามขั้นตอนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ Paired t - test


            ผลการวิจัย พบว่าคณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุนและตัวแทนกลุ่มต่างๆ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลอีสานเขต ได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานกองทุนตามแผนปฏิบัติการ ทำให้ระดับการพัฒนาดีขึ้นทั้ง 3 ด้าน คือ ความรู้เกี่ยวกับกองทุนโดยรวมอยู่ในระดับดี การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนโดยรวมอยู่ในระดับมาก และการประเมินการปฏิบัติงานกองทุนโดยรวมอยู่ในระดับมาก


                        โดยสรุป การพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพมีปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม การจัดเวทีประชุมประชาคม การอบรมพัฒนาศักยภาพ การศึกษาดูงานกองทุนต้นแบบ การนิเทศ ติดตามและประเมินผล การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งควรมีการส่งเสริมศักยภาพของคณะกรรมการบริหารกองทุน การมีส่วนร่วมของประชาชน การใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อส่งผลให้การดำเนินงานกองทุนพัฒนาดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลอีสานเขต. (2557). สรุปผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ปี 2557. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
2. ชาญชัย ชัยสว่าง. (2552). การพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
3. ณัฐวุฒิ จันทร์สว่าง. (2555). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตำบลขุมเงิน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
4. นิคม บุตรงาม. (2554). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเกาะแก้อำเภอสำโรงทาบจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
5. พัชรี ประยูรพันธ์. (2555). การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพกรณีศึกษา: กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านบัว อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
6. ไพโรจน์ อุทรส. (2554). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น อำเภอโกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
7. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2557). กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
8. อารินทร์ ไชยโยราช. (2555). การพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าพระ อำเภอเมือง ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ตามมาตรฐานการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
9. อวยพร พิศเพ็ง. (2553). ผลของการประยุกต์การจัดการอย่างมีส่วนร่วม ร่วมกับ แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่กรณีศึกษาตำบลเมืองแก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
10. Kemmis, S. and McTaggart, R. (1998). The Action Research Planner. Victoria: Deakin University Press.