การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี โดยใช้หลักไตรสิกขา

Main Article Content

บุญรอด บุญเกิด
บุญเลิศ ยองเพ็ชร
ปัทวี สัตยวงศ์ทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี โดยใช้หลักไตรสิกขา และศึกษาผลการใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิต โดยใช้หลักไตรสิกขา ผู้วิจัยใช้หลักการของ ADDIE Model เป็นกรอบของขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การทดลองนำไปใช้ และประเมินผล โดยกลุ่มทดลอง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี จำนวน 30 คน ได้จากการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ใช้ระยะเวลาทดลองกิจกรรมที่สร้างขึ้น 16 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถามเพื่อวัดระดับคุณภาพชีวิตด้านสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรีก่อนและหลังใช้กิจกรรม จำนวน 33 ข้อ เป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .25-.88 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบ t-test และใช้แบบสัมภาษณ์ สัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


  1. การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรี โดยใช้หลักไตรสิกขา แบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก ประกอบด้วย กิจกรรมฐานศีล กิจกรรมฐานสมาธิ และกิจกรรมฐานปัญญา

  2. ระดับคุณภาพชีวิตด้านสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี ก่อนการใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักไตรสิกขา โดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้งด้านสังคมและด้านจิตใจ ก่อนใช้กิจกรรมโดยรวมอยู่ในระดับดี

  3. 3. ระดับคุณภาพชีวิตด้านสังคมและจิตใจของผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดชลบุรี หลังการใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักไตรสิกขา โดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุทั้งด้านสังคมและด้านจิตใจ หลังใช้กิจกรรม โดยรวมอยู่ในระดับดี

  4. 4. คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดชลบุรีโดยรวม พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตก่อนใช้และหลังใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิต โดยใช้หลักไตรสิกขา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังใช้กิจกรรมมีระดับคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตทั้งด้านสังคมและด้านจิตใจ ก่อนใช้กิจกรรมและหลังใช้กิจกรรมส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยใช้หลักไตรสิกขา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. วารสารวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม, 3(1), 23-24.
2. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2549). เล่าเรื่องให้โยมฟัง. วันที่สืบค้นข้อมูล 25 พฤศจิกายน 2557, เข้าถึงได้จาก http://www.dhammajak.net/book/sila/sila13.php.
3. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2555). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
4. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรี. (2556). จำนวนประชากร จำแนกตามช่วงอายุ ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.). จันทบุรี: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรี.
5. อารีย์ สุวรรณคำ. (2541). อัตมโมทัศน์และการปรับตัวของผู้สูงอายุ: ศึกษากรณีผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์คณะพัฒนาสังคม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
6. Best, John W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice-Hill.
7. Cronbach, L.J. (1990). Essential of Psychological testing. (5th ed). New York: Haper Collins.
8. Oknation.net. (2557). ไตรสิกขา. วันที่สืบค้นข้อมูล 25 พฤศจิกายน 2557 เข้าถึงได้จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=560228)
9. Strickland, A.W. (2006). ADDIE. Idaho state University College of Education Science, Math & Technology Education. Retrieved March 2, 2010, From http://ed.isu.edu/addie/index.htm.