ศึกษาเดี่ยวซอด้วงเพลงพญาโศก สามชั้น ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน)

Main Article Content

ทิพย์ฤทัย อยู่คง

บทคัดย่อ

การศึกษาเดี่ยวซอด้วงเพลงพญาโศก สามชั้น ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาภูมิปัญญาการถ่ายทอดทางซอของ หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) และศึกษาเดี่ยวซอด้วงเพลงพญาโศก สามชั้น ทางของหลวงไพเราะ เสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตำราทางวิชาการ เอกสารสิ่งพิมพ์ บันทึกเสียง และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผลการศึกษามีดังนี้


จากการศึกษาภูมิปัญญาทางซอของหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ที่ได้ศึกษา แบ่งเป็น 3 หัวข้อ คือ 1.การรับศิษย์ในการเข้าเรียนดนตรี 2.วิธีการถ่ายทอดดนตรี 3.เกร็ดความรู้และเทคนิคทางดนตรี โดยในหัวข้อที่ 1และ2 จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือลูกศิษย์ในวิทยาลัยนาฏศิลปะ และกลุ่มที่ 2 คือลูกศิษย์นอกวิทยาลัยนาฏศิลป ได้แก่ ชุมนุมดนตรีที่ธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) และที่บ้าน 2 กลุ่มนี้มีความต่างกัน และส่วนของเกร็ดความรู้และเทคนิคทางดนตรี ในการเรียนดนตรีมีเทคนิคต่างๆ เช่น การสะบัดคันชัก การหมุนซอสามสาย เป็นต้น ครูหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) มีวิธีการสอนคือ จะปฏิบัติเป็นตัวอย่าง แล้วให้ผู้เรียนจดจำและปฏิบัติตาม โดยที่ครูหลวงไพเราะคอยชี้แนะ


จากการศึกษาเดี่ยวซอด้วงเพลงพญาโศก สามชั้น ทางหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) เพลงเดี่ยวพญาโศก สามชั้น เมื่อนำมาศึกษากับทำนองหลักแล้วบันไดเสียงที่พบคือ บันไดเสียงซอล บันไดเสียงโด และบันไดเสียงเร บันไดเสียงที่พบมากที่สุดคือบันไดเสียงซอล ในการศึกษาลูกตก มีลูกตกทั้งหมด 6 เสียง คือเสียง โด เร ฟา ซอล ลา ที และลูกตกที่พบมากที่สุดคือ เสียง เร จากการศึกษา สำนวนกลอน พบว่า ในเที่ยวหวานมีการนำเทคนิคต่างๆ มาใช้เพื่อตกแต่งทำนองเพลง สำนวนกลอนจึงมีความไพเราะ และมีเอกลักษณ์ ในเที่ยวเก็บมีการใช้สำนวนกลอนต่างๆ เช่น กลอนไต่ลวด กลอนม้วนตะเข็บ กลอนร้อยโซ่ กลอนพัน กลอนผสม กลอนสับนก กลอนไต่ไม้ กลอนย้อนตะเข็บ และการศึกษาเทคนิคในทางเดี่ยวเพลงพญาโศก สามชั้น พบว่า ในเพลงมีการใช้เทคนิคการขยี้นิ้ว การขยี้คันชัก การพรมนิ้วเปิด การพรมคลึงนิ้ว การสะบัดนิ้ว การสะบัดคันชัก การรูดนิ้ว การเปลี่ยนตำแหน่งนิ้ว การสะอึก และการควงเสียง สรุปได้ว่าเดี่ยวซอด้วงเพลงพญาโศก สามชั้นของหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) เป็นทางเดี่ยวที่รวบรวมองค์ความรู้ตลอดจนเทคนิคกลวิธีต่างๆ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาด้านเครื่องสายไทยของหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ผู้วิจัยคิดว่าควรที่จะอนุรักษ์ และเผยแพร่ภูมิปัญญาต่างๆทางด้านเครื่องสายไทย ของหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) สืบต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชนะชัย กอผจญ. (2547). การศึกษาเพลงเดี่ยวลาวแพนทางจะเข้.ปริญญานิพนธ์ ศป.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
2. เชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ.สัมภาษณ์,วันที่ 20 เมษายน 2558.
3. ฐกฤต สุกุลกิตติไกร. (2555). เพลงเดี่ยวซออู้เพลงสารถี สามชั้น ทางอาจารย์เฉลิม ม่วงแพรศรี.วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชาดุริยางคศิลป์ไทย บัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
4. ณรงค์ชัย ปิฎกรัชน์.ดนตรีไทยอุดมศึกษา ๓๙. (2555). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
5. ดาริน พรหมอ่อน. (2548) ศึกษาเดี่ยวเพลงพญาโศก ซอด้วงทางครูเบญจรงค์ ธนโกเศศ. ปริญญานิพนธ์ ศป.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
6. โดม สว่างอารมณ์. (2547). เทคนิคการปฏิบัติซอด้วง. มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
7. ธนิต อยู่โพธิ์. (2535). ประวัติเครื่องดนตรีไทย.กรุงเทพมหานคร.
8. บุญธรรม ตราโมท. (2481). ดุริยางคศาสตร์ไทย.กรุงเทพมหานคร.
9. ปัญญา รุ่งเรือง. (2517). ประวัติการดนตรี.กรุงเทพมหานคร.
10. พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์. (2554). ปฐมบทดนตรีไทย.โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม.
11. พูนพิศ อมาตกุล. (2527). ดนตรีวิจักษ์.โรงพิมพ์เกียรติธุรกิจ:กรุงเทพมหานคร.
12. พูนพิศ อมาตกุล.มานานุกรม ศิลปินเพลงไทยในรอบ ๒๐๐ ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. 2532. จัดพิมพ์โดยเงินจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เฉลิมฉลองสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร.
13. มนตรี ตราโมท. (2481). ดุริยางคศาสตร์.กรุงเทพมหานคร.
14. มนตรี ตราโมท. (2523). ดุริยางคศาสตร์ไทย.กรุงเทพมหานคร.
15. มนตรี ตราโมท. (2527). โสมส่องแสง :ชีวิตดนตรีไทย ของ มนตรีตราโมท.โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์:กรุงเทพมหานคร
16. มานพ วิสุทธิแพทย์. (2555). วิเคราะห์เพลงไทย.มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
17. ราชบัณฑิตยสถาน. (2540). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคคีต-ดุริยางค์. กรุงเทพมหานคร.
18. วีระศักดิ์ กลั่นรอด.สัมภาษณ์,วันที่ 7 เมษายน 2558.
19. สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2544). เกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมิน.สำนักพิมพ์ห้างหุ่นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์:กรุงเทพมหานคร.
20.สงบศึก ธรรมวิหาร. (2542). ดุริยางค์ไทย. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย:กรุงเทพมหานคร.
21. สุรพล สุวรรณ. (2551). ดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
22. อุทิศ นาคสวัสดิ์. (2512). ทฤษฎีและปฏิบัติดนตรีไทย ภาค 1.กรุงเทพฯ : เจริญการพิมพ์
23. อรวรรณ บรรจงศิลปะ และคณะ.(2546). ดุริยางคศิลป์ไทย.สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.