การวิเคราะห์ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่ออัตราพัฒนาการความสามารถ ในการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงพหุระดับพัฒนาการความสามารถในการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงของความสามารถในการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 530 คน โดยใช้การสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบ จำนวน 3 ฉบับ และแบบสอบถามฉบับนักเรียนและผู้บริหารโรงเรียน เก็บข้อมูลซ้ำ จำนวน 3 ครั้ง การตรวจสอบความตรงของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงพหุระดับของพัฒนาการความสามารถในการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีรูปแบบพัฒนาการแบบแผนเชิงเส้นตรง มีค่าเฉลี่ยสถานะเริ่มต้นเท่ากับ 10.671 และค่าเฉลี่ยอัตราพัฒนาการเท่ากับ 1.255 และ 2) โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงพัฒนาการของความสามารถในการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในระดับนักเรียนและระดับโรงเรียน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยปัจจัยทำนายระดับนักเรียน พบว่า ตัวแปรที่ส่งผลต่อค่าสถานะเริ่มต้นของความสามารถในการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิม และเจตคติต่อการอ่าน และไม่มีตัวแปรใดที่ส่งผลต่ออัตราพัฒนาการของความสามารถในการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ ปัจจัยทำนายระดับโรงเรียน พบว่า ไม่มีตัวแปรใดที่ส่งผลต่อค่าสถานะเริ่มต้น และอัตราพัฒนาการของความสามารถในการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้
Article Details
References
2. ก้อง ไชยณรงค์. (2552). ผลของหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะผู้นำในรูปโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝงของภาวะผู้นำเต็มรูปและทักษะผู้นำ : กรณีศึกษานักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์ จอนห์.
3. เกียรติยศ กุลเดชชัยชาญ.(2555). การทดลองวัดผลโค้งพัฒนาการแบบมีตัวแปรแฝงในการพัฒนาทักษะการคิดวิพากษ์แบบบูรณาการของนักเรียน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
4. จุฑารัตน์ ปะวะเน. (2556). บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษากับการปฏิรูปการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นสำคัญ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40 เพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.
5. ธีรยุทธ ภูเขา. (2550). การศึกษาประสิทธิภาพโมเดลสมการโครงสร้าง 3 รูปแบบในการศึกษาปัจจัยเชาวน์ปัญญาและเชาว์อารมณ์ที่ส่งผลต่ออัตราพัฒนาการวิชาคณิตศาสตร์. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
6. ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
7. เยาวลักษณ์ ศรีสุนนท์. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
8. เรือนคำ คำโมนะ. (2552). ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความสามารถในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
9. วรรณี โสมประยูร.(2544). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
10. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2554). ผลการประเมิน PISA 2009 การอ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
11. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. (2558). รายงานการดำเนินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างเครื่องมือวัดความสามารถด้านภาษา (literacy) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. เอกสารวิชาการลำดับที่ 3/2558 กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1.
12. สำเริง บุญเรืองรัตน์. (2535). การวัดการเปลี่ยนแปลง. ใน สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
13. สุนทรพจน์ ดำรงพานิช. (2554). โปรแกรม Mplus กับการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมและสังคมศาสตร์.มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
14. สุดฤทัย ศรีปรีชา. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
15. สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2552). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
16. อัมพร สมปาน. (2552). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4ในจังหวัดศรีสะเกษ : การเปลี่ยนแปลงระยะยาว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
17. อิทธิพงษ์ ตั้งสกุลเรืองไล.(2541). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลโค้งพัฒนาการที่มีตัวแปรแฝง 4 รูปแบบในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของการพัฒนาทางกายและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
18. Bloom, Benjamin S. (1976). Human Characteristics and School Learning. New York: McGraw-Hill.
19. Gardener. R. & Lambert. W. E. (1972). Attitudes & motivation in second language learning.Rowley. Mass: Newbury House.
20. Hooper, D., Coughlan, J. & Mullen, R. M. (2008). Structural Equation Modelling: Guidelines for Determining Model Fit. Electronic of Business Research Methods, 6(1): 53-60.
21. Leow, H.Z. (1984). September. “Developing strategies reading skill,” Foreign Language Annual. 17: 301-303.
22. Rogosa D.R. & Saner H. (1995). “Longitudinal data analysis examples with rom coefficient models,”Journal of Educational & Behavioral Statistics. 20: 174-189.