ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปและจริยธรรมระหว่างอะกาเมมนอนและเฮคเตอร์: การวิเคราะห์เชิงเปรียบต่างในมหากาพย์อิเลียด

Main Article Content

ณัฐภัทร พัฒนา
สุทัสสี สมุทรโคจร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่านิยมทางจริยธรรมสำหรับผู้นำในวัฒนธรรมกรีกโบราณที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครที่เป็นผู้นำหลัก 2 ตัวในมหากาพย์อิเลียดและเพื่อศึกษาความสอดคล้องกันของค่านิยมทางจริยธรรมสำหรับผู้นำในวัฒนธรรมกรีกโบราณที่สะท้อนผ่านตัวละครผู้นำหลัก 2 ตัวดังกล่าวในมหากาพย์อิเลียดกับในทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของ เบอร์นาร์ด เอ็ม แบส และแนวคิดผู้นำเชิงจริยธรรมของ ปีเตอร์ จี นอร์ธเฮาส์ ตัวละครที่ศึกษาได้แก่ อะกาเมมนอนและเฮคเตอร์ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษานี้รวบรวมจากบทบรรยายการกระทำและความคิดของตัวละครที่ศึกษาและบทพูดของตัวละครดังกล่าว การวิเคราะห์เป็นลักษณะของการบรรยายวิเคราะห์โดยกรอบการวิเคราะห์ได้มาจากทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของเบอร์นาร์ด เอ็ม แบสและแนวคิดผู้นำเชิงจริยธรรมของปีเตอร์ จี นอร์ธเฮาส์ ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะทางจริยธรรมสำหรับผู้นำที่กำหนดไว้ในกรอบการวิเคราะห์ทุกประการ โดยอะกาเมมนอนแสดงคุณลักษณะทางจริยธรรมสำหรับผู้นำได้เด่นชัดกว่าเฮคเตอร์ในทุกประการ และเฮคเตอร์ไม่ได้แสดงออกถึงคุณลักษณะทางจริยธรรมสำหรับผู้นำในด้านของการเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น ตัวละครทั้งสองแสดงออกถึงคุณลักษณะทางจริยธรรมสำหรับผู้นำประการหนึ่งร่วมกันคือ ความระแวดระวัง นอกจากนั้นแล้วอะกาเมมนอนนั้นยังแสดงออกถึงการรู้จักใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะประการหนึ่งที่อะกาเมมนอนมีและสามารถใช้อย่างแยบยลและมีส่วนช่วยให้อะกาเมมนอนประสบความสำเร็จทั้งการเป็นฝ่ายชนะในสงครามและ การชนะใจลูกน้อง ส่วนเฮคเตอร์นั้นแสดงคุณลักษณะจริยธรรมสำหรับผู้นำออกมาในรูปของความเป็นวีรบุรุษและไม่รู้จักผ่อนปรนในการใช้ความเป็นผู้นำ จึงไม่สามารถนำชัยชนะมาสู่ทัพของตนและไม่สามารถชนะใจลูกน้องได้ จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า คือ แม้ว่าทฤษฎีภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปจะเป็นทฤษฎีภาวะผู้นำสมัยใหม่ แต่แนวคิดและคุณลักษณะสำหรับผู้นำเชิงปฏิรูปนั้นปรากฏตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ สิ่งที่ค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าสังคมทั้งในอดีตและปัจจุบันต่างก็ให้ความสำคัญกับจริยธรรมของผู้นำ และภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปซึ่งเน้นคุณลักษณะทางจริยธรรมสำหรับผู้นำก็เป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้นำประสบความสำเร็จ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Bass, Bernard M. (1998). Transformational Leadership: Industrial, Military, and Educational Impact. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.
2. Borges, Cassandra J. The Geography of the Iliad in Ancient Scholarship. [online]. Available:http://search.proquest,com/docview/918145137/abstract/13924419EFC5EC60468/1?accounted=44783. 2011.
3. Boss, Judith. (2011). Ethics for Life: A Text with Readings. 5th ed. New York: McGraw-Hill.
4. Bowie, Robert. (2004). Ethical Studies. 2nd ed. London: Nelson Thornes Ltd.
5. Burns, James M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.
6. Cahn, Steven M. (2002). Classics of Political and Moral Philosophy. New York: Oxford University Press, Inc.
7. Daft, Richard L. (2011). Leadership. 5th ed. South-Western Australia: Cengage Learning.
8. Driver, Julia. (2007). Ethics: the Fundamentals. Malden (MA): Blackwell Publishing.
9. Gibson, Robert D. Virtue under Fire: Leadership Attributes Required in 21st Century Combat. [online]. Available: http://search.proquest.com/docview/304406969?accountid=44783. 2014.
10. Goetsch, David. (2005). Effective Leadership: Ten Steps for Technical Professions. New Jersey: Pearson Education Inc.
11. Homer. (1994). The Iliad. Trans. Robert Fitzgerald. London: David Campbell Publishers Ltd.
12. Hughes, Richard L.; Robert C. G. and Gordon J. C. (2002). Leadership: Enhancing the Lessons of Experience. 4th ed. New York: McGraw-Hill.
13. Lawrence, Anne, and James Weber. (2011). Business and Society: Stakeholders, Ethics, Public Policy. 13th ed. New York: McGraw-Hill.
14. Lussier, Robert, and Christopher Achua. (2007). Effective Leadership. 3rd ed. Ohio: Thomson Higher Education.
15. Manning, George, and Curtis Kent. (2007). The Art of Leadership. 2nd ed. New York: McGraw-Hill.
16. Northouse, Peter. (2004). Leadership: Theory and Practice. 3rd ed. Thousand Oaks (California): Sage Publication Inc.
17. Tirmizi, Syed Aqeel. Validity of A Theory of Leadership across Cultures: A Meta-Analysis. [online]. Available: http://search.proquest.com/docview/304481758?accountid=44783. 2014.
18. Yukl, Gary. (2002). Leadership in Organizations. 6th ed. New Jersey: Pearson Education Inc.
19. Zauderer, Donald. Integrity: An Essential Executive Quality. [online]. Available: http://www.dzauderer.com/disappearing.pdf. 1992.