พัฒนาการของฐานะยุทธศาสตร์ในสังคมไทย : มองผ่านการตีความตัวบทสามก๊ก

Main Article Content

ชูวงศ์ อุบาลี

บทคัดย่อ

การศึกษา “พัฒนาการของฐานะยุทธศาสตร์ในสังคมไทย: มองผ่านการตีความตัวบทสามก๊ก” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของยุทธศาสตร์ในสังคมไทยผ่านการตีความตัวบทสามก๊กเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) บนฐานวิธีวิทยาการแสวงหาความรู้แนววิภาษวิธี (Dialectic) เก็บรวบรวมข้อมูลจาก 1) การศึกษาเอกสาร ประกอบด้วย (1) ตัวบทสามก๊กในรูปแบบต่างๆ ประกอบด้วย ตัวบทที่เป็นเอกสาร เช่น วรรณกรรมสามก๊ก ฉบับมาตรฐานและฉบับเรื่องเล่า ตัวบทที่เป็นภาพยนตร์ (2) เอกสารที่เป็นบริบทของตัวบทสามก๊ก และ 2) การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-dept Interview) โดยใช้แนวสัมภาษณ์เจาะลึกและกำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key-Informants) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตัวบทสามก๊กในประเทศไทย ประกอบด้วย กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มนักบริหาร และกลุ่มบุคคลทั่วไปที่สนใจ สามก๊ก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การตีความที่เน้นบริบท (Content) เชิงประวัติศาสตร์ผลการศึกษาพบว่าพัฒนาการของยุทธศาสตร์ในสังคมไทยผ่านการตีความตัวบทสามก๊ก สามารถแบ่งพัฒนาการออกเป็น 3 ช่วงคือ 1) ยุทธศาสตร์ในฐานะเครื่องมือทางการทหาร 2) ยุทธศาสตร์ในช่วงเปลี่ยนผ่าน และ 3) ยุทธศาสตร์ในฐานะเครื่องมือทางการบริหาร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมพระยาดำรงราชานุภาพ.(2547).ตำนานหนังสือสามก๊ก.กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์ดอกหญ้า 2545
2. เครก เจ.เรย์โนลด์ส.(2550).เจ้าสัว ขุนศึก ศักดินา ปัญญาชน และคนสามัญ.รวมบทความประวัติศาสตร์ของเครก เจ.เรย์โนลด์ส.กรุงเทพมหานคร.โอเอสพริ้นติ้งเฮาส์.
3. ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์.(2555).วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม.โครงการผลิตตำราและเอกสารประกอบการสอน หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.
4. ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ.(2540).วิทยาการบริหาร สำหรับนักบริหารมืออาชีพในยุคโลกาภิวัตน์.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.กรุงเทพฯ.
5. ถาวร สิกขโกศล.(2555).รายการตอบโจทย์ ที่นี่ Thai PBS ตอน อ่านสามก๊ก อ่านสังคมไทย.23 เมษายน 2555.
6. พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต.(2552).องค์การการบริหารจัดการ.บริษัท ธง บียอนด์บุ๊ค จำกัด.
7. เรือง วิทยาคม.(2556).สามก๊ก ฉบับคนขายชาติ.http://www.manager.co.th/Home/samkok.asp.เข้าถึงเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2556.
8. สมบัติ จันทรวงศ์.(2538).ความหมายทางการเมืองของสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน).กรุงเทพ.สำนักพิมพ์มติชน.
9. สมบัติ จันทรวงศ์.(2547).บทพิจารณ์ว่าด้วยวรรณกรรมการเมืองและประวัติศาสตร์.ฉบับปรับปรุงใหม่.กรุงเทพมหานคร.โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
10. Nutt,P.C. and Backoff R.W.(1992). Strategic Management of Public and third Sector Organizations. San Francisco :Jossey – Bass Publishers.