ผลของการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง ที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี ที่มีคะแนนจากการทำแบบสอบถามการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ ต่ำกว่าร้อยละ 60 ลงมา จำนวน 15 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ และโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t–test)
ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมการให้คำปรึกษาแบบรายบุคคลตามทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง มีการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองเป็นรายด้าน พบว่า ผู้สูงอายุมีการเห็นคุณค่าในตนเอง ด้านตนโดยทั่วไป ด้านตนทางสังคม และด้านตนทางด้านครอบครัว เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
2. บุญชม ศรีสะอาดและคณะ. (2549). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
3. เบญจวรรณ สิงโตอ่อน. (2548). การให้คำปรึกษาแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลางตามแนวคิดของโรเจอร์สเพื่อเพิ่ม การเห็นคุณค่าของตนเองของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
4. ธนู ชาติธนานนท์. (2550). ความเข้าใจเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : สำนักงานส่งเสริมอนามัยและสิ่งแวดล้อม.
5. ธัญรดา เผ่าแสนเมือง. (2542). ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีโรเจอร์สต่อการปรับตัวในการศึกษาภาคปฏิบัติของนักศึกษาของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม อำเภอเมืองจังหวัดมหาสารคาม. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
6. บรรลุ ศิริพานิช. (2532). พฤติกรรมและการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุไทยที่ยืนยาวและแข็งแรง. รายงานการวิจัยกรุงเทพฯ : สามดีการพิมพ์.
7. วัชรี ทรัพย์มี. (2533). ทฤษฎีและกระบวนการให้คำปรึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
8. ศศิภา ผลวิไล. (2551). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. ใน หนังสือรวม บทความวิจัยงานประชุมวิชาการวิจัยรำไพพรรณี. หน้า 198-207. จันทบุรี : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
9. Cronbach, L.J. (1990). Essential of Psychological testing. (5th ed). New York: Haper Collins.
10. Roger, C.R. (1967). Psychotherapy and Personality Change. Chicago : University Press.