การบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551: ศึกษากรณีวัดในเขตจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ปองปรีดา ทองมาดี
อดิศร กุลวิทิต
กุลปราณี ศรีใย
สุวิชา เย็นเจริญ
ธีรศักดิ์ ใบชา

บทคัดย่อ

การบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ศึกษากรณีวัดในเขตจังหวัดจันทบุรี       จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยพบปัญหาหลายประการดังนี้ ปัญหาแรกพบว่าเกิดจากช่องว่างของกฎหมายนั้น เนื่องจากพระราชบัญญัตินี้บัญญัติไว้เฉพาะห้ามผู้ใดดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณวัด โดยไม่ได้ห้ามบุคคลที่ดื่มสุราจากที่อื่นๆ แล้ว        มีอาการมึนเมาเข้ามาในบริเวณวัด จึงไม่สามารถบังคับใช้ตามพระราชบัญญัตินี้ในการลงโทษได้ ปัญหาที่สองพบว่า       การพิสูจน์กรณีที่บุคคลมีอาการมึนเมาหรือนำสุราใส่ภาชนะอื่นๆ มาในบริเวณวัด ในทางปฏิบัติแล้วทางวัดควบคุมได้เฉพาะที่เห็นเป็นประจักษ์และมีอาการมึนเมาขั้นรุนแรงเท่านั้น ในกรณีบุคคลมีอาการมึนเมาสุราเล็กน้อยไม่แสดงอาการหรือนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใส่ภาชนะชนิดอื่นๆ เข้ามาในบริเวณวัด ทางวัดก็จะพิสูจน์ไม่ได้ โดยทางวัดไม่สามารถใช้  เครื่องเป่าตรวจแอลกอฮอล์หรือเครื่องพิสูจน์อย่างอื่นเช่นเดียวกับตำรวจจราจรมาปฏิบัติกับทุกคนที่เข้ามาในวัดได้  เพราะสภาพของทางวัดไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ปัญหาที่สามพบว่าการไม่ทราบว่ามีพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งเป็นปัญหา ที่เกิดขึ้นน้อยมาก มักเกิดขึ้นในสมัยที่พระราชบัญญัตินี้ออกบังคับใช้ใหม่ๆ เท่านั้น ต่อมาภายหลังก็ถือว่าทราบโดยทั่วไป หรืออาจเกิดขึ้นได้เป็นเพียงข้อแก้ตัวของผู้กระทำความผิดเท่านั้น ปัญหาที่สี่พบว่าปัญหาจากขนบธรรมเนียมประเพณี   มักเกิดขึ้นจากการทำพิธีเกี่ยวกับศพ เช่น การเคลื่อนย้ายศพ การรดน้ำศพ การตอกหรือการงัดฝ่าโรงศพ สัปเหร่อก็มักจะขอเหล้าขาวเพื่อมาทำพิธีหรือไว้ครูบาอาจารย์ก่อนเสมอ หรือพิธีอื่นๆ แต่ละท้องถิ่นจะไม่เหมือนกัน ปัญหานี้เป็นปัญหา  ที่ทางวัดไม่สามารถควบคุมได้ เพราะเป็นความเชื่อของชาวบ้านที่สืบทอดกันมานาน ปัญหาที่ห้าแบ่งเป็น 2 กรณี คือ กรณีแรกพบว่าไม่เกรงกลัวกฎหมายเพราะเมาไม่ได้สติหรือคะนอง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นส่วนน้อย ส่วนมากทางวัดสามารถควบคุมได้โดยการไล่ออกจากวัดไป ส่วนกรณีที่สองพบว่าเป็นการใช้สถานที่ของวัดจัดงานเลี้ยงหรือกิจกรรมต่างๆ ซึ่งทางวัดไม่สามารถควบคุมการดื่มสุราได้ เพราะทางเจ้าภาพที่จัดงานเลี้ยงมีความจำเป็นต้องมีแอลกอฮอล์ไว้ต้อนรับผู้ที่เข้ามาร่วมงาน 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ทิพย์วรรณ กลั่นกรอง. (2555). กฎหมายกับปัญหาน้ำเมา. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://training.p3.police.go.th/doc2555/15-12-55-01/e05.pdf [15 ธันวาคม 2555].
2. ธนกฤต ชัยถวัลย์วงศ์ และรัศมน กัลป์ยาศิริ. (2556). การดื่มแอลกอฮอล์ของคนงานก่อสร้าง ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 58 ฉบับที่ 4 ตุลาคม - ธันวาคม 2556: 358 และ (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/58-4/05-Thanakrit.pdf
3. ประญัติ เกรัมย์. (2553). โครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา ปี 2553 “เข้าพรรษานี้ ชวนครอบครัวเลิกเหล้า”. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล http://lent.stopdrink.com/archive/2554/?page_id=2 [2554]
4. พงษ์เดช สารการ. (2552). การประเมินผลพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี. การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรมสุขภาพจิต สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.)
5. ยุทธ พลบุญเกิด. (2552). ปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551: ศึกษาเฉพาะกรณี การควบคุมสถานที่. สารนิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.
6. สมชาย สุรชาตรี. (2552). บทความทางพุทธศาสนา ดื่มเหล้าในวัด. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=110:-m-m-s&catid=96:2009-09-19-10-13-59&Itemid=326 [19 กันยาน 2552].
7. สมปอง ทองมาดี. (2554). ความรับผิดของวัดต่อการกระทำของผู้แทนหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทน. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.