การศึกษาสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ถาวร ฉิมเลี้ยง
พรชัย เหลืองวารี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางสังคม - เศรษฐกิจ สภาพการเลี้ยง และปัญหาการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อจำนวน 239 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53.71 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา นับถือศาสนาพุทธ มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4 -5 คน อาชีพหลักทำการเกษตร อาชีพรองรับจ้างและค้าขาย และมีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 5.74 ปี มีจำนวนโคเนื้อเฉลี่ย 7.36 ตัว รายได้จากการเลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 68,161.09 บาทต่อปี รายจ่ายจากการเลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 11,236.40 บาทต่อปี จำนวนแรงงานที่ใช้เลี้ยงโคเนื้อเฉลี่ย 1.15 คน เกษตรกรเลี้ยงส่วนใหญ่เลี้ยงโคเนื้อพันธุ์พื้นเมือง ใช้วิธีการผสมพันธุ์โคโดยการผสมเทียม มีการปลูกสร้างแปลงหญ้าสำหรับเลี้ยงโคเนื้อ โรงเรือนโคเนื้อเป็นโรงเรือนไม้ ขนาดเฉลี่ย 51.48 ตารางเมตร โคเนื้อของเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เคยเกิดโรคโคเนื้อ ปัญหาที่พบ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อส่วนใหญ่เลี้ยงโคเนื้อพันธุ์พื้นเมือง ขาดความรู้ในด้านการผสมพันธุ์ ขาดความรู้ในด้านอาหารและการให้อาหารโคเนื้อ วัสดุที่ใช้ก่อสร้างโรงเรือนมีราคาแพง ขาดความรู้ในเรื่องการควบคุมและป้องกันโรค

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมปศุสัตว์. (2554). ข้อมูลเกษตรกรและจำนวนโคเนื้อที่เลี้ยงแยกรายอำเภอปี 2553.(ออนไลน์).Available :http://www.ict.dld.go.th( 14 กุมภาพันธ์ 2554 ).
2. กรมปศุสัตว์. (2556). ข้อมูลเกษตรกร/ปศุสัตว์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2556.(ออนไลน์).Available : http//www.ict.dld.go.th( 20 กรกฎาคม 2557 )
3. จรูญ จันทลิกา, ปราโมทย์ ทองนวล และ สมัย ศรีหาญ. (2551).สภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดมหาสารคาม.(ออนไลน์). Available : http://www.lsko-kop.dld.go.th/index.php/paper/30-feeding-beef( 20 มกราคม 2558)
4. ถาวร ฉิมเลี้ยง. (2549). เอกสารคำสอนรายวิชาการผลิตโคเนื้อ. คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.
5. ทรงศักดิ์ เทพหนู. (2552). การศึกษาสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรตำบลท่าเรืออำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
6. ธีรชัย ช่อไม้. (2544). การเลี้ยงโคกบินทร์บุรีโดยใช้พื้นที่แปลงหญ้าแบบจำกัด. ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์กบินทร์บุรี, ปราจีณบุรี.
7. ปรารถนา พฤกษะศรี. (2548). สาระน่ารู้เกี่ยวกับโคเนื้อ ชุดที่ 1 ย้อนรอยวงการโคเนื้อ. นีออน บุ๊ค มีเดียม, นนทบุรี.
8. ไพศาล ริ้วธงชัย, จำเนียร ด่านทิม และสุนิมิต ชุ่มพงษ์. (2548). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการศึกษาแนวทางการเลี้ยงวัวด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนบ้านนาเปอะ ตำบลชาติตระการ อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก. สำนักงานสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ.
9. สุเจตน์ ชื่นชม เสาวลักษณ์ ผ่องลาเจียก ศศิธร นาคทอง เชาวลิต นาคทอง และ วรรณี ชีวปรีชา. (2551). โครงการระบบการผลิตเนื้อโคพื้นเมืองในเขตภาคตะวันตกของประเทศไทย. รายงานฉบับสมบูรณ์ สานักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย,กรุงเทพฯ
10. Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. Harper and Row Publication, New York.