การอบแห้งข้าวเปลือกงอกด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดโดยใช้ไอน้ำร้อนยวดยิ่ง

Main Article Content

สุรพงษ์ โซ่ทอง
ไกรสร รวยป้อม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออบแห้งข้าวเปลือกงอกด้วยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดโดยใช้ไอน้ำร้อนยวดยิ่งเป็นตัวกลางในการอบแห้ง เครื่องอบแห้งฯ มีกำลังการผลิต 30 กิโลกรัมต่อชั่วโมง  อบแห้งที่อุณหภูมิ 130  150 และ 170 องศาเซลเซียส ที่ความสูงของเบดข้าวเปลือกงอก 12 เซนติเมตร  ความเร็วของไอน้ำร้อนยวดยิ่ง 2.40 2.44 และ 2.62 เมตรต่อวินาที ใช้ระยะเวลาในการอบแห้งครั้งละ5 นาที แล้วจึงนำข้าวเปลือกงอกที่ลดความชื้นแล้วไปกะเทาะเปลือกและทดสอบคุณภาพด้านต่างๆ จากผลการศึกษาพบว่า ที่อุณหภูมิอบแห้ง 130  150 และ 170 องศาเซลเซียส สามารถลดความชื้นของข้าวเปลือกงอกจาก 30 เปอร์เซ็นต์ (มาตรฐานเปียก) ลงเหลือ 17.28  16.33 และ 15.71 เปอร์เซ็นต์ (มาตรฐานเปียก) ตามลำดับ  ด้านคุณภาพข้าวพบว่า  เปอร์เซ็นต์ต้นข้าวกล้องงอกที่ได้จากการอบแห้งที่อุณหภูมิ130 องศาเซลเซียส มีค่าสูงกว่าที่อุณหภูมิ 150 และ 170 องศาเซลเซียส  โดยที่ทุกอุณหภูมิการอบแห้งไม่พบข้าวท้องไข่ในข้าวกล้องงอกที่ได้  ในขณะที่เปอร์เซ็นต์การร้าวและความแข็งของข้าวกล้องงอกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิอบแห้งที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตามอุณหภูมิอบแห้งได้ส่งผลกระทบต่อค่าความสว่าง ค่าสีแดง และค่าสีเหลืองของข้าวกล้องงอกที่ได้ จากผลการทดลองปริมาณสารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิด (GABA) ของข้าวกล้องงอกที่ผ่านการอบแห้งมีค่า 3.29  3.11 และ2.70 มิลลิกรัมต่อ100 กรัม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จารุรัตน์ สันเต. 2550. ผลของกระบวนการแช่และกระบวนการงอกของข้าวกล้อง (หอมมะลิ 105) ต่อปริมาณสารแกมมาอะมิโนบิวทิริกแอซิดในข้าวกล้องอก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
2. นพรัตน์ ยศวัฒนและอรรถสิทธิ์ ลี่ดำรงวัฒนากุล. (2529). การอบแห้งข้าวเปลือกโดยวิธีฟลูอิไดเซชัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. น. 54-59.
3. สมชัย อัครทิวาและขวัญจิต วงษ์ชาลี. (2549). เทอร์โมไดนามิกส์. สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.กรุงเทพฯ. 671 น.
4. อธิคม จิรจินดาเลิศ. (2546). การนึ่งข้าวกล้องด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการพลังงาน คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
5. อิศเรศ ธุชกัลยา. (2543). การอบแห้งข้าวเปลือกโดยเทคนิคฟลูอิไดซ์เบดด้วยไอน้ำร้อนยวดยิ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงาน คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. น.23-25.
6. Rordprapat, W.,A., Nathakaranakule., W., Tia.,and S., Soponronnarit. (2005). Comparative study of fluidized bed paddy drying using hot air and superheated steam. Journal of Food Engineering. 71(1) : 28-36.
7. Taechapaioj, C. Dhuchakallaya, I. Soponronarit, S. Prachayawarakorn, S. (2003). Superheated Steam Fluidized Bed Paddy Drying. Journal of Food Engineering, 58 : 67-73.
8. Taechapaioj, C. Prachayawarakorn, S. and Soponronarit, S. (2004). “Characteristics of Rice Dried in Superheated Steam Fluidised Bed”. Drying Technology. Vol. 22(4), pp.719-743.
9. Taweerattanapanish, A. Soponronnarit, S. Wetchacama, S. Kongseri,N. and Wongpiyachon, S. 1999. “Effect of Drying on Rice Yield Using Fluidization Techique”. Drying Technology. Vol. 17. No. 1&2. pp.345-353.
10.