การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ศาณิตา ต่ายเมือง
ปริญญา ทองสอน
เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ จิตวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่  ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ t-test Dependent sample และ t-test Independent sample ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 4 กิจกรรมย่อย ได้แก่ พลังงานรอบตัว สถานการณ์พลังงาน พลังงานทดแทน และการอนุรักษ์พลังงาน โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ มีความเหมาะสมตามการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญมีค่าระหว่าง 4.50 – 4.80 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก

  2. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยการประยุกต์ใช้แนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า

                        2.1 ค่าเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ สูงกว่าก่อนเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 7.421)


                        2.2 ค่าเฉลี่ยความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมหลังเรียนด้วยการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.840)


                        2.3 ค่าเฉลี่ยจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ สูงกว่าก่อนเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 8.800)


                        2.4 ค่าเฉลี่ยจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ


ไม่แตกต่างกับค่าเฉลี่ยจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มควบคุมหลังเรียนด้วยการสอนแบบปกติ (t = .580)


                        2.5 ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ สูงกว่าก่อนเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 15.696)


                        2.6 ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมหลังเรียนด้วยการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


(t = 2.420)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมสุขภาพจิต. (2551). รายงานไอคิวและอีคิวของเด็กไทยประจำปี พ.ศ. 2550. กรมสุขภาพจิต. หน้า 1.
2. กระทรวงพลังงาน. (2558). รายงานการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย. กระทรวงพลังงาน. (มกราคม – ธันวาคม). กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, หน้า 1.
3. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
4. กวิน เชื่อมกลาง. (2559). นาวาฝ่าวิกฤต ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 3. นิตยสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (มกราคม – กุมภาพันธ์).
5. ดารารัตน์ ชัยพิลา. (2558). ผลกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานตามแนวคิด STEM Education ที่มีต่อความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
6. ธงไชย ต้นทัพไทย. (2548). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และค่านิยมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
7. บัวพิศ ภักดีวุฒิ. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวังหลวงพิทยาสรรพ์ จังหวัดหนองคาย โดยใช้ชุดฝึกทักษะพื้นฐานและชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวงจรการปฏิบัติการคิดสร้างสรรค์ของ Plsek. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
8. นัสรินทร์ บือซา. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
9. พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2558). แนวคิดการจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาด้านพุทธพิสัยตามแนวคิดของบลูมและคณะฉบับปรับปรุง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. (ตุลาคม 2557–มีนาคม 2558).
10. ไพศาล วรคำ. (2552). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
11. สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2556). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. ภาควิชาชีววิทยาและหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110. (2556, เมษายน).
12. สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. นิตยสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557, มกราคม – กุมภาพันธ์).
13. สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2556). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. นิตยสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556, พฤศจิกายน – ธันวาคม).
14. Miles, Elzabeth. (1999). Tune your brain. New York : The Berkley Publishing Group. Nickerson.
15. Torrance E.P. (1965). Rewarding creative behavior : experiments in classroom creativity. Englewood cliffs, N.J. : Prentice Hall inc.