ระบบปั๊มลมพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

Main Article Content

ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล
กฤษณะ จันทสิทธิ์
ธีรวัฒน์ ชื่นอัศดงคต

บทคัดย่อ

ในการทำวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาระบบปั๊มลมพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดเล็กสำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานปั๊มลมด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงในแต่ละช่วงเวลา โดยใช้ภาชนะบรรจุลมขนาด 36 ลิตร ติดตั้งมอเตอร์ไม่มีชุดแปลงถ่าน (Brushless DC Motor) 24 โวลต์ 350 วัตต์ ขนาด 500 รอบ ขับด้วยมู่เล่ขนาด 3 นิ้ว ไปยังปั๊มลูกสูบขนาดมู่เล่ตัวตาม 6 นิ้ว ด้วยแผงโซล่าเซลล์ขนาด 325 วัตต์ จำนวน 1 แผง ผ่านตู้ควบคุมภายในติดตั้งฟิวส์ไฟฟ้ากระแสตรง เซอร์กิตเบรกเกอร์ และอุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกทางไฟฟ้า (Surge Protector) มอนิเตอร์แสดงค่าแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า และกำลังไฟฟ้า สวิตช์แบบปรับหมุน ไฟโชว์สถานะในตำแหน่งปิด และตำแหน่งเปิดของระบบ พบว่า หลังติดตั้งระบบปั๊มลมพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ทดสอบการทำงานในช่วงเวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. โดยเฉลี่ย 6 ครั้งใน 1 ชั่วโมง วัดปริมาณความเข้มแสง ปริมาณแรงดันไฟฟ้า ปริมาณกระแสไฟฟ้า กำลังไฟฟ้าที่ได้จากแผงโซล่าเซลล์ และปริมาณความเร็วรอบของมอเตอร์ โดยช่วงเวลาการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือช่วงเวลา 13.00 น. ใช้ระยะเวลาการบรรจุลมลงในภาชนะขนาด 36 ลิตรด้วยเวลา 7.42 นาที ด้วยแรงดัน 36.85 โวลต์ กระแสไฟฟ้า 7.23 แอมแปร์ กำลังไฟฟ้า 259.26 วัตต์ และความเร็วรอบ 426.80 รอบต่อนาที

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. โซล่าร์เจน. (2558). ฟิวส์ (Fuse) คืออะไร. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://www.solargen.co.th/th/blog/1152/blog-1152. 21 พฤษภาคม 2562.
2. ทีเอ็นกรุ๊ป. (2560). สูตรคำนวณ หาขนาดมู่เลย์และความยาวของสายพาน. (ออนไลน์) แหล่งที่มา :http://www.tngroup.co.th/media/article_detail/264. 14 พฤษภาคม 2562.
3. นครินทร์ รินผล. (2559). คู่มือการออกแบบระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์เบื้องต้น. การพิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพ ฯ : จรัลสนิทวงศ์ การพิมพ์.
4. เน็คเทค เว็ป เบส เลิร์นนิ่ง. (2561). อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชกทางสายไฟฟ้า (AC Line Surge Protector). (ออนไลน์) แหล่งที่มา : http://irrigation.rid.go.th/rid8/communication/royal_coin/electrical/lightning/lsp.html. 15 พฤษภาคม 2562.
5. วีระศักดิ์ สมัครการ เอราวัต ล่าเต๊ะ และวันเฉลิม บุราณเดช. (2554). ปรับปรุงเครื่องอัดอากาศใช้งานระบบอัตโนมัติเพื่อลดต้นทุนในระบบ. ปริญญานิพนธ์ ทล.บ. (เทคโนโลยีไฟฟ้าและอีเล็กทรอนิกส์) คณะวิศวกรรมศาสตร์. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.
6. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย : ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา. กรุงเทพ ฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล กฤษณะ จันทสิทธิ์ คมสัน มุ่ยสี และนิกร ผงทอง. (2562). ระบบสูบน้ำบาดาลพลังงานแสงอาทิตย์แบบพึ่งพาตนเองในพื้นที่โรงเรียนอนุบาลเกาะกูด จังหวัดตราด. วารสารวิจัยรำไพรรณี. 13 (พฤษภาคม ถึง สิงหาคม): 5-16.
8. ไอ เอ็นเนอร์ยี่ กรูรู. (2558). ระบบอากาศอัด. (ออนไลน์) แหล่งที่มา : https://ienergyguru.com/2015/09/compressed-air-system/. 17 พฤษภาคม 2562.