ชนิดและการแพร่กระจายของสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ บริเวณอ่าวยาง จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความหลากหลายและการแพร่กระจายของสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ บริเวณอ่าวยางจังหวัดจันทบุรี โดยทำการสำรวจเป็นจำนวน 6 ครั้ง ในช่วงเดือน มิถุนายนสิงหาคมตุลาคมปี พ.ศ.2561 และเดือน มกราคมกุมภาพันธ์ มีนาคมปี พ.ศ.2562พร้อมทั้งศึกษาค่าปัจจัยทางกายภาพต่าง ๆ ได้แก่ ค่าอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าปริมาณออกซิเจนละลายค่าปริมาณแสง ค่าความเค็ม และค่าความลึกกำหนดจุดเก็บตัวอย่างสาหร่ายทะเลบริเวณหาดอ่าวยางจำนวน 3 สถานี คือ สถานีด้านซ้ายของหาดที่ติดแนวปะการัง สถานีตรงกลางติดกับหาดหิน และสถานีทางด้านขวาติดกับหาดหินและหาดทราย ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมตัวอย่างสาหร่ายทะเลที่พบ บันทึกภาพสาหร่ายทะเลศึกษาเปอร์เซ็นต์การปกคลุมของสาหร่ายโดยใช้พื้นที่สุ่มตัวอย่าง (Quadrate) ขนาด 1x1 เมตร และจัดจำแนกชนิดของสาหร่ายทะเลโดยใช้คู่มือ หรือ คีย์ ผลการศึกษาพบสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ทั้งสิ้น 10วงศ์ 15 สกุล 22ชนิด โดยพบสาหร่ายทะเลสีแดงมากที่สุด 11 ชนิด รองลงมา คือ สาหร่ายทะเลสีน้ำตาล 8 ชนิด และน้อยสุด คือ สาหร่ายทะเลสีเขียว 3 ชนิด พบการแพร่กระจายของสาหร่ายทะเลในบริเวณเขตน้ำขึ้นสูงสุด เพียงชนิดเดียว คือ Enteromorpha prolofera ในบริเวณเขตน้ำขึ้นน้ำลงพบสาหร่ายทั้งหมด 13 สกุล 17 ชนิด ชนิดเด่น คือ Gelidiumpusillum และพบสาหร่ายทะเลบริเวณเขตที่อยู่ใต้น้ำตลอดเวลา จำนวน2 สกุล 5 ชนิด สาหร่ายทะเลชนิดเด่นคือ Sargassumcrassifolium นอกจากนี้ยังพบว่าความหนาแน่นของสาหร่ายในแต่ละฤดูกาลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) โดยพบความหนาแน่นของสาหร่ายทะเลในช่วงฤดูแล้งมากกว่าฤดูฝน การศึกษาเปอร์เซ็นต์ความหนาแน่นของสาหร่ายทะเลทั้งหมดพบว่า มีความสัมพันธ์กับค่าความเค็ม และค่าความลึกอย่างมีนัยสำคัญ(P<0.05)
Article Details
References
2. กาญจนภาชน์ ลิ่วมโนมนต์, สุจินต์ ดีแท้ และวิทยา ศรีมโนภาษ. (2534). รายงานการวิจัยเรื่องอนุกรมวิธานและนิเวศวิทยาของหญ้าทะเลในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
3. กาญจนภาชน์ ลิ่วมโนมนต์, ชัชรี แก้วสุรลิขิต และธิดารัตน์ น้อยรักษา. (2550). หนังสือชุดเกราะครามเรื่องสาหร่ายทะเลบริเวณเกาะครามและเกาะใกล้เคียง.1000. 1. กรุงเทพฯ : บริษัทเวิร์ค สแควร์ จำกัด.
4. เกศริน นาคตระกูล. (2548). ความหลากหลายของสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่บริเวณหาดแสมสารชลบุรี. ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.ถ
5. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. (2559). รายงานการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ปี 2559. จันทบุรี: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
6. ชลธิชา ไชยวงศ์ศรี. (2548). ความหลากหลายของสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่บริเวณหาดบางละมุง หาดพัทยา และหาด
บางเสร่ ชลบุรี.ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.5
7. ชัยมงคล คงภักดี. (2548). รายงานการวิจัยความหลากหลายของสาหร่ายทะเลขนาดใหญ่ที่เกาะ สีชังและหาดผาแดง ชลบุรี.ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
8. ชุตาภา คุณสุข และรังสินี วงษ์สมศรี. (2559). ความหลากหลายของปูในระบบนิเวศหาดหิน บริเวณเกาะนมสาว จังหวัดจันทบุรี. ในการประชุมวิชาการวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 10 ก้าวสู่งานวิจัยในศตวรรษที่ 21 วันที่ 19-20 ธันวาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
9. ธีระรัตน์ อุบลรัตน์. (2553). ความหลากชนิดและความสามารถในการดูดซับไนเตรทของสาหร่ายขนาดใหญ่ที่พบบริเวณแหล่งน้ำทิ้งหาดท่าวังและหาดท่าล่าง เกาะสีชัง จ.ชลบุรี. โรงเรียนจอมสุรางค์อุปถัมภ์.55
10.พิชิต คำบุรี และ อเนก โสภณ. (2553). ความหลากหลายและการแพร่กระจายของสาหร่ายขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำ บริเวณเกาะสีชังและเกาะขามใหญ่จังหวัดชลบุรี. โรงเรียนท่าวังผาพิทยาคมและสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. มัทรียา แหละเหย็บ และอนงค์ จีรภัทร์. (2554). องค์ประกอบชนิดและการแพร่กระจายของสาหร่ายทะเลยึดเกาะในบริเวณชายฝั่งจังหวัดตราด. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: ม.ป.ท.5555
12. สมชาย สกุลทับ. (2519). การศึกษาสาหร่ายทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลรอบเกาะภูเก็ต. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
13. สำนักงานการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี. (2561). สถิติการท่องเที่ยวจังหวัดจันทบุรี. เข้าถึงได้จาก http://www.thaimtb.com/forum/viewtopic.php. เข้าถึงเมื่อ 7 มกราคม 2561.
14. อัญชนา ประเทพ. (2552). รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่อง การจัดทำคู่มือการศึกษาสาหร่ายทะเลในหมู่เกาะทะเลใต้: วิธีการศึกษาและคู่มือภาคสนามสำหรับสาหร่ายชนิดที่เด่น. จังหวัดสงขลา: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
15. Abbot, I.A. (1999). Marine red algae of the Hawaiian Islands. Hawaii: Bishop Museum Press.
16. Dawson, E.Y. (1954). Marine plants in the vicinity of the institute Oceanographique de Nha Trang, Vietnam. Pacific Science, 8(4), 373-481.
17. Egerod, L. (1975). Marine algae of the Andaman sea coast of Thailand: Chlorophyceae. Botanica Marina, 18(1), 41-6.
18. Huisman, J.M. (2000). Marine plants of Australia. Queensland: University of Western Australia Press.
19. Lewmanomont, K. and Okawa, H. (1995). Common Seaweeds and Seagrasses of Thailand. Bangkok: Faculty of Fisheries, Kasetsart University.
20. Purvaja, R., Robin, R.S., Ganguly, D., Hariharan, G., Singh, G., Raghuraman, R. and Ramesh, R. (2017). Seagrass meadows as proxy for assessment for ecosystem health. Ocean Coastal Management, 159, 34-45.