การสังเคราะห์งานวิจัยวัฒนธรรมภาคตะวันออกของประเทศไทยด้านแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการอนุรักษ์และพัฒนาระหว่างปี 2549 – 2558
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์งานวิจัยที่กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมภาคตะวันออกซึ่งเผยแพร่ระหว่างปี 2549 – 2558 และ 2) ประเมินและกำหนดแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมภาคตะวันออก โดยวิธีวิจัยเชิงเอกสารและการสังเคราะห์อย่างเป็นระบบ
ผลการวิจัยพบว่า 1) งานวิจัยเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของพลเมืองในการอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมภาคตะวันออกมี 29 รายการ จากงานวิจัยทั้งหมด 780 รายการ พื้นที่ที่มีการศึกษามากที่สุดคือจังหวัดชลบุรี รองลงมาคือจังหวัดระยอง ภาคตะวันออกโดยรวม จังหวัดฉะเชิงเทรา จันทบุรี สระแก้ว ปราจีนบุรี และ ตราด ส่วนจังหวัดที่ไม่ถูกวิจัยคือนครนายก วัฒนธรรมที่เป็นประเด็นการวิจัยมากที่สุดคือ พลังความคิดและภูมิปัญญา รองลงมาคือวัฒนธรรมกับการพัฒนา และ ศิลปวัฒนธรรม ส่วนวัฒนธรรมด้านอัตลักษณ์และความหลากหลายทางชาติพันธุ์ไม่ถูกวิจัย ในขณะที่ การมีส่วนร่วมที่พบมากที่สุดคือการให้ความคิดเห็น รองลงมาคือการติดตาม การร่วมตัดสินใจ การดำเนินการ และการรับข่าวสาร 2) แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมฯมีความเป็นไปได้สองทางคือจากภายในและภายนอก ซึ่งทั้งสองแนวทางประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ ประชาชน องค์กรวิชาการ ภาคีเครือข่าย และการบริหารจัดการที่ต้องกำหนดนโยบายอย่างชัดเจน รับผิดชอบต่อความเจริญและเสื่อมของชุมชน เสริมสร้างองค์ความรู้ ประสานความเข้าใจระหว่างเจ้าของวัฒนธรรมและคนนอก และเป็นไปอย่างละมุนตามลำดับ บนพื้นฐานความตระหนักในความหลากหลายและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
Article Details
References
2. เครย์ตัน, เจมส์ แอล. (2551). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม. วันชัย วัฒนศัพท์, ถวิลวดี บุรีกุล และ เมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี, ผู้แปล). ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.
3. จักรกฤษณ์ เรืองเวช และศรีวรรณ มีคุณ. (2550). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในศูนย์ศึกษาธรรมชาติและ อนุรักษ์ป่าชายเลนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (จังหวัดชลบุรี). วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 3(1): 67-80.
4. ไชยา กุฏาคาร. (2557). การมีส่วนร่วมของสมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดสระแก้ว ในการดำเนินงานตามภารกิจของพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พุทธศักราช 2551. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 6(3): 225-246.
5. ณรงค์ศักดิ์ พิทักษ์ตันสกุล, วิลาศ คำภาวงษ์ และประสิทธิ์ มั่นมงคล. (2553). โครงการวิจัยแบบมีส่วนร่วม เรื่องความหลากหลายพรรณพืชและการใช้ประโยชน์ด้านพืชอาหารและพืชสมุนไพรในป่าชุมชนเตียน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา. Journal of Tropical Plants, 3: 59-66.
6. ทรงสิริ วิชิรานนท์. (2556). พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 22 กรกฎาคม 2520, ใน คุณลักษณะ พลเมืองดีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. รายงานการวิจัย.
7. ธนวัฒน์ พิมลจินดา. (2556). บทเรียนจากความล้มเหลวในการจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเขตพื้นที่ อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม,9(2): 22-32.
8. นิคม โขมะนาม. (2558). การจัดการวัดไทยเพื่อการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาวัดสมานรัตนาราม อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 101-114.ในกระบวนการยุติธรรมแก่ประชาชน ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออก.
9. บุญทัน โพกิลา และ อภิชาต ภัทรธรรม. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ป่าชายเลนในเขตป่าสงวน แห่งชาติป่าประแส-พังราด จังหวัดระยอง. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม), 28: 228-233.
10. ปรีดา วานิชภูมิ. (2557). การจัดการภาคีสาธารณะแบบใหม่ในกรณีของป่าชุมชน จังหวัดระยอง. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 6(2): 137-163.
11. พรชัย กิจวิมลตระกูล, พรศรี เหล่ารุจิสวัสดิ์, กรินทร์ บุญเลิศวณิชย์, ธีรัตน์ พิริยะพลิน, กฤษณา โพธิสารัตนะ, นพดล เดชประเสริฐ และพัชรา โพธิไพฑูรย์. (2555). การมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (CSR) ของพนักงานบริษัทปิโตรเคมีในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 7(2): 27-35.
12. พรรณวลัย คีรีวงศ์วัฒนา และสมหมาย แจ่มกระจ่าง. (2555). การจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรม: การอนุรักษ์จิตรกรรมฝา ผนังในภาคตะวันออก. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 8(1): 33-46.
13. พิมล พูพิพิธ. (2554). วิถีการดำรงชีวิตและปัญหาของชุมชนในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิจัยรามคำแหง (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 13(1): 40-49.
14. พีรชัย กุลชัย และสุขุมาภรณ์ ขันธ์ศรี. (2549). แผนแม่บทชุมชน ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. การประชุม ทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ หน้า 355-362.
15. เพ่ง บัวหอม และชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์. (2557). ความล้มเหลวของการจัดการความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหามลพิษระหว่างโรงงานเจนโก้กับชุมชนเขตอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 22(40): 161-178.
16. ไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์ และยุวดี รอดจากภัย. (2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในภาค ตะวันออกของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 9(2): 13-20.
17. ภารดี มหาขันธ์. (2555). การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของภาคตะวันออกยุคปรับปรุงประเทศตามแบบสมัยใหม่ ถึงปัจจุบัน. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด องศาสบายดี.
18. ภารดี มหาขันธ์. (2554). การตั้งถิ่นฐานและพัฒนาการของภาคตะวันออกยุคต้น (ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น). นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด องศาสบายดี.
19. ยศพล เหลืองโสมนภา, สาคร พร้อมเพราะ และสุกัญญา ขันวิเศษ. (2552). คุณภาพชีวิตปัญหาและความต้องการของผู้พิการในเขตพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง จังหวัดจันทบุรี. รายงานวิจัย วิทยาลัยพยาบาล พระปกเกล้า จันทบุรี.
20. รัตนาพร สุขดี. (2556). ความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทการจัดการศึกษาอบรม: ศึกษากรณีประชาชนในอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 3(2): 33-40.
21. รุ่งอรุณ มูลทิพย์, พงศกร ลีเจริญพงศ์, สมพัฒน์ จิรพงศากูร, ชนิตา ลิ้มม่วงนิล พิศมัย สาระศรี, ศิริกัลยา ทิพะใส, สายรุ้ง บุญเกิด, วิษา แสงสงวน และจตุพล นาคชม. (2550). ความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกของนักท่องเที่ยวชาว ไทยที่มาใช้บริการท่องเที่ยวในเกาะเสม็ด จังหวัดระยอง. รายงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
22. ลักษณา โรจน์พิทักษ์กุล. (2550). การพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์และส่งเสริมผลผลิตจากตาลโตนด กรณีศึกษาชุมชนตำบล ปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารศึกษาศาสตร์, 18(2): 49-62).วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 25(1): 76-92.
23. วิเชียร ตันศิริมงคล. (2555). การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554 จังหวัดชลบุรี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย,4(3): 135-169.
24. วิมล จันทร์ประภาพ และเจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. (2555). ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำ ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 8(2): 71-84.
25. ศรีสกุล เฉียบแหลม, โสภา ลี้ศิริวัฒนกุล และจีราภา ศรีท่าไฮ. (2551). ผลกระทบอุทกภัย และแนวทางในการให้ ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเขตภูมิภาคตะวันออก: กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี. รายงานวิจัย วิทยาลัย พยาบาล พระปกเกล้า จันทบุรี.
26. สถาบันรามจิตติ (อมรวิชช์ นาครธรรพ). (2553). โครงการวิจัยและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งทาง วัฒนธรรมของสังคมไทย ระยะที่ 1. รายงานฉบับสมบูรณ์.
27. สมศักดิ์ คูหาสวรรค์เวช. (2552). การประชาสัมพันธ์เกษตรอินทรีย์ในตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ หน้า 137-144.
28. สมหมาย แจ่มกระจ่าง, ศรีวรรณ ยอดนิล และพีระพงษ์ สุดประเสริฐ. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม บูรณาการแผนชุมชนสู่การจัดทำแผนพัฒนาสามปี (พ.ศ.2558-2560) เทศบาลตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 10(2): 200-211.
29. สุกัญญา เฉียงเอก. (2550). การรับรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์ สังคมศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
30. สุกัญญา บูรณเดชาชัย. (2549). วิถีชีวิตและกระบวนการทำประมง: กรณีศึกษาหมู่บ้านประมงหาดวอนนภา ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(20): 47-67.
31. สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, นิสากร กรุงไกรเพชร, พัชรินทร์ พูลทวี และวันดี โตรักษา. (2552). การประเมินภาวะสุขภาพและ ปัจจัยเสี่ยงของเด็กวัยเรียนเพื่อกำหนดนโยบายสาธารณะบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของสถาบันสุขภาพและ ผู้มีส่วนได้เสียในชุมชนภาคตะวันออก. รายงานการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
32. หาญณรงค์ คะชา. (2550). การขับเคลื่อนวิถีพุทธภายใต้กระแสบริโภคนิยม: ศึกษากรณีพระสุบิน ปณีโต วัดไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์ สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ.
33. อมรา พงศาพิชญ์. (2549). โครงการประเมินและสังเคราะห์องค์ความรู้การวิจัยวัฒนธรรมในประเทศไทย: วัฒนธรรมกับการพัฒนาภาคกลาง. รายงานการวิจัย.
34. อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ส เจริญการพิมพ์.
35. อิสราภรณ์ พลนารักษ์, กมลวรรณ รอดหริ่ง และศิริวรรณ ภิญโญสิริพันธ์. (2556). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวบนฐานชุมชนของหมู่บ้านท่องเที่ยว OVC บ้านตลาดล่าง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์แลtสังคมศาสตร์, 21(35): 25-46.
36. เอมอร อังสุรัตน์, จุฬารัตน์ วัฒนะ, รพี ดอกไม้เทศ, นงนุช ปรมาคม, ชัชชัย แก้วสนธิ, คนึงรัตน์ คำมณี และริรัฐินาฏ ถังเงิน. (2551). การประเมิน ความต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริการฝนหลวงของอาสาสมัครฝนหลวง พื้นที่ศึกษาจังหวัดชลบุรี. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ หน้า 560-571.
37. แอนเดอร์สัน, เบเนดิกท์. (2558). ศึกษารัฐไทย วิพากษ์ไทยศึกษา. (ดารินทร์ อินทร์เหมือน, ผู้แปล). ใน ศึกษารัฐไทยย้อนสภาวะไทยศึกษาว่าด้วยการเมืองไทยสมัยใหม่. นนทบุรี: ฟ้าเดียว