ความคิดเห็นของราษฎรต่อการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

วิภาวี วรรณสถิต
รองลาภ สุขมาสรวงม
พสุธา สุนทรห้าว

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคม ระดับความคิดเห็นของราษฎร และเปรียบเทียบตัวแปรที่มีผลต่อความคิดเห็นของราษฎรต่อการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี โดยใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลราษฎรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 380 ครัวเรือน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด  ค่าต่ำสุด ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที t-test และค่าสถิติเอฟ F-test


จากการศึกษาพบว่า ราษฎรกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 66.6 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 33.4 ระดับการศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 56.6 ระยะเวลาในการตั้งถิ่นฐาน 31-45 ปี ร้อยละ 41.6 ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ร้อยละ 83.7 รายได้ครัวเรือนน้อยกว่า 100,000 บาทต่อปี ร้อยละ 51.1 ขนาดพื้นที่ถือครองน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ไร่ ร้อยละ 43.7 จำนวนชนิดพืชเกษตรที่ปลูกน้อยกว่า 3 ชนิด ร้อยละ 71.8 เคยได้รับความเสียหายของพืชเกษตรจากช้างป่า ร้อยละ 68.7 ระยะทางจากที่ทำกินถึงพื้นที่ป่า มากกว่า 4 กิโลเมตร ร้อยละ 80.0 ไม่เคยมีประสบการณ์การมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาช้างป่า ร้อยละ 56.3 ไม่รับรู้หรือรับทราบแนวเขตแต่อย่างใด ร้อยละ 64.5 ในด้านความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และการป้องกัน
พืชเกษตรและการขับไล่ช้างป่า มีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 63.9 และ 66.6 ตามลำดับ และมีความคิดเห็นต่อการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.11 หมายถึง การดำเนินการเพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ควรจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในบางประเด็น เพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากกว่าเดิม โดยความคิดเห็นของราษฎรต่อการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่าแตกต่างกันตามรายได้ครัวเรือน การรับรู้แนวเขต ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และความรู้เกี่ยวกับการป้องกันพืชเกษตรและการขับไล่ช้างป่า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการปกครอง. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2559. [Online]. เข้าถึงได้จาก :http://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showProvinceData.php 2560.
2. คณะวนศาสตร์. (2556). แผนการอนุรักษ์และแก้ไขปัญหาช้างในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
3. เพ็ญศรี พิพัฒน์. (2556). ความคิดเห็นของราษฎรต่อกองทุนช่วยเหลืออาหารช้างป่าแห่งประเทศไทย: กรณีศึกษา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวายเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
4. ศุภกิจ วินิตพรสวรรค์. (2557). คูกันช้าง. ใน ผลงานวิจัยและรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ประจำปี 2555. กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. กรุงเทพฯ. หน้า 195-202.
5. ศูนย์วิจัยป่าไม้. (2542). โครงการศึกษาการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากการสำรวจระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อสำรวจตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ุ6. สุบงกช จามีกร. (2526). สถิติวิเคราะห์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
7. ไสว วังหงษา. (2547). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงประชากรช้างป่า ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน. ใน ผลงานวิจัยและรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ประจำปี 2546. กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. กรุงเทพฯ. หน้า 35-53.
8. ไสว วังหงษา. , ส่องสกณ บุญเกิด และกัลยาณี บุญเกิด. (2551). เกณฑ์ความรุนแรงปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและช้างป่าในประเทศไทย. ใน ผลงานวิจัย และรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ประจำปี พ.ศ. 2550.
9. ไสว วังหงษา บุญชู อยู่ภู่, พงษ์ศักดิ์ โคตรชมพู, อำนาจ สัมพันธ์, ปราโมทย์ ชิตทรงสวัสดิ์, วิศณี อ่วมแจ้ง, อยู่ เสนาธรรม และกัลยาณี บุญเกิด. (2552). ประสิทธิภาพของคูกันช้างออกนอกพื้นที่เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน. ใน ผลงานวิจัย และรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ประจำปี 2552. กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. กรุงเทพฯ. หน้า 97-107.
10. Best, J. W. (1981). Research in education. 4th ed.. New Jersey: Prentice Hall.
11. Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed.. New York: Harper and Row Publication.

กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. กรุงเทพฯ. หน้า 183-190.