การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยวิธี MIA และการจัดการเรียนรู้โดยวิธี CIRC
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยวิธี MIA 2) เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยวิธี CIRC 3) เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธี MIA และวิธี CIRC 4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธี MIA และวิธี CIRC กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๑ (บุรวิทยาคาร) อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) หลังจากนั้นใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากอีกครั้ง เพื่อเลือกห้องเรียนเข้ากลุ่มทดลอง 1 และกลุ่มทดลอง 2 ซึ่งกำหนดให้กลุ่มทดลอง 1 ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธี MIA และกลุ่มทดลอง 2 ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธี CIRC เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธี MIA แผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธี CIRC แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธี MIA มีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธี CIRC มีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธี MIA และวิธี CIRC มีความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธี MIA และวิธี CIRC มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
References
2. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. (2548). การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : บริษัทซัคเซส มีเดีย.
3. จิตตภัสร์ ทับสิงห์. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธี KWL-Plus และวิธี MIA ที่มีต่อความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). จันทบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.
4. ดุษฎี นาหาร. (2553). การพัฒนากิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคงทนในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีสอนแบบเอส คิว สาม อาร์. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (สาขาหลักสูตรและการสอน). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.
5. ถนอมเพ็ญ ชูบัว. (2554). “การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วยวิธีสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค (MIA),” วารสารวิชาการ. 4 (14) : 32 - 43.
6. นพพร สโรบล. (2557). ภาษาอังกฤษกับการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.polsci.tu.ac.th/fileupload/39/56.pdf. 18 มกราคม 2560.
7. วณัฐฐา หงษ์อินทร์. (2555). “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ CIRC และแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา,” วารสารวิชาการ. 7 (1) : 32 - 43, 464 - 469.
8. วันเพ็ญ วัฒฐานะ. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่าน และศึกษาพฤติกรรมการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดตะปอนน้อย จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน). ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
9. ศิริวรรณ ไชยชนะ. (2554). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษที่เรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 โรงเรียนชุมชนสวี จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน). นนทบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
10. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2559). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http//www.niets.or.th. 19 สิงหาคม 2560.
11. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http//www.niets.or.th. 19 สิงหาคม 2560.
12. สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
13. Goodman, K.S., and Niles, O. (1973). Reading Process and Program. Illinois : National Council of Teacher in English.
14. Harris, A.J. and Sipay, R.E. (1979). How to Teach Reading a Competency-Based Program. London : Longman.
15. Murdoch, George S. (1986). “A More Integrated Approach to the Teaching of Reading,” English Teaching Forum. 34 (1) : 9 - 15.
16. Ryder, Randall J., and Graves, Michael F. (1994). Reading Centers Fluency Practice. Cambridge : Cambridge University.
17. Slavin, R.E. (1995). “The Cooperative Elementary school: Effect on Student’s Achievement, Attitude, and Social Relation,” American Education Research Journal. 32 (1) : 321 - 351.