ผลการใช้ข้าวเปลือกข้าวหอมแม่พญาทองดำบดผสมในอาหารต่อ สมรรถนะการผลิตของไก่พื้นเมืองลูกผสม

Main Article Content

ถาวร ฉิมเลี้ยง
พรชัย เหลืองวารี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้ข้าวเปลือกข้าวหอมแม่พญาทองดำบดในสูตรอาหารต่อสมรรถนะการผลิต อัตราการเลี้ยงรอด ต้นทุนและผลตอบแทนของไก่พื้นเมืองลูกผสม โดยสุ่มลูกไก่พื้นเมืองลูกผสมคละเพศ อายุ 21 วัน จำนวน 240 ตัว เข้าทดลองตามแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด แบ่งลูกไก่ทดลองออกเป็น 6 กลุ่ม ตามระดับการใช้ข้าวเปลือกข้าวหอมแม่พญาทองดำบดในสูตรอาหาร ไก่แต่ละกลุ่มแบ่งออกเป็น 4 ซ้ำ แต่ละซ้ำใช้ไก่ จำนวน 10 ตัว อาหารทดลองมี 6 สูตร คือ อาหารที่ใช้ข้าวเปลือกข้าวหอมแม่พญาทองดำบดอยู่ในระดับ 0, 5, 10, 15, 20, และ 25 เปอร์เซ็นต์ ไก่ทดลองทุกตัวได้รับอาหารและน้ำแบบเต็มที่ ใช้ระยะเวลาการทดลอง 16 สัปดาห์ ผลการทดลอง พบว่า ไก่พื้นเมืองลูกผสมที่ได้รับอาหารทดลองทุกสูตรมีน้ำหนักสิ้นสุดการทดลอง น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโต ปริมาณอาหารที่กิน และอัตราการเปลี่ยนอาหารไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P> 0.05) อัตราการเลี้ยงรอดของไก่พื้นเมืองลูกผสมตลอดการทดลอง เท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ในทุกกลุ่มการทดลอง การใช้ข้าวเปลือกข้าวหอมแม่พญาทองดำบดผสมในอาหารระดับที่สูงขึ้นทำให้มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการใช้ข้าวเปลือกข้าวหอมแม่พญาทองดำบดผสมในอาหารระดับ 15 เปอร์เซ็นต์ทำให้ได้กำไรมากที่สุด ดังนั้น สามารถใช้ข้าวเปลือกข้าวหอมแม่พญาทองดำบดผสมในอาหารไก่พื้นเมืองลูกผสมได้ถึง 25 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่มีผลกระทบต่อสมรรถนะการผลิต แต่อาจจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มมากขึ้น และกำไรลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมปศุสัตว์. (2551). แนวทางลดต้นทุนค่าอาหารสุกรและสัตว์ปีกสำหรับเกษตรกร. กรุงเทพฯ: กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
2. กรมวิชาการเกษตร. (2554). ข้าวหอมแม่พญาทองดำ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.doa.go.th/pvp/images/stories/indexpp2518/AnnoDOA_nameplant/t387.pdf. 10 มีนาคม 2560.
3. เกรียงไกร โชประการ, กิตติ วงศ์พิเชษฐ, วัชรพงษ์ วัฒนกูล, และวรพงษ์ สุริยจันทราทอง. (2541). รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องการพัฒนาการผลิตไก่พื้นเมืองและไก่ลูกผสมพื้นเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
4. เฉลิมชล ช่างถม. (2557). ข้าวหอมแม่พญาทองดำ ข้าวโบราณของชาวจันทบูร. อู่ข้าว 3 (27): 28-31.
5. ถาวร ฉิมเลี้ยง. (2537). โภชนศาสตร์สัตว์. จันทบุรี: ภาควิชาเกษตรศาสตร์ คณะเกษตรและอุตสาหกรรม สถาบันราชภัฏรำไพพรรณี.
6. ธรรณพ เหล่ากุลดิลก. (2553). องค์ประกอบของสารต้านอนุมูลอิสระ กิจกรรมของสารต้านอนุมูลอิสระ และเสถียรภาพระหว่างการเก็บรักษาของรำจากข้าวสี และการประยุกต์ใช้รำจากข้าวสีในขนมปัง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิต (วท.ด.) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. นวลพรรณ นงค์เยาว์, นันท์นภัส แก้วประดับ, พรรณี รัตนชัยสิทธิ์ และ จิรศักดิ์ คงเกียรติขจร. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบแอนโทไซยานินในรำข้าวสี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบับพิเศษ): 649-660.
8. พัชราภรณ์ สมเทศ, สุขุมวัฒน์ พีระพันธุ์, คมสัน อำนวยสิทธิ์ และพรรณระพี อำนวยสิทธิ์. (2558). การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคของมนุษย์ด้วยสารสกัดจากข้าวเมล็ดสีม่วง. ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 53: สาขาพืช, สาขาสัตว์, สาขาสัตวแพทยศาสตร์, สาขาประมง, สาขาส่งเสริมการเกษตรและคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 574–581.
9. ไพโชค ปัญจะ. (2543). การศึกษาการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของไก่พื้นเมืองและไก่พื้นเมืองลูกผสม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 8 (1): 39-43.
10. ภูรี วีระสมิทธิ์, อำนวย เลี้ยวธารากุล และศิริพันธ์ โมราถบ. (2554). สมรรถภาพการผลิตของไก่ลูกผสมพื้นเมืองประดู่หางดำ เหลืองหางขาว แดง และชี. วารสารวิชาการออนไลน์สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์: 144-152.
11. มนต์ชัย ดวงจินดา, บัญญัติ เหล่าไพบูลย์, เทวินทร์ วงษ์พระลับ, พิชญ์รัตน์ แสนไชยสุริยา, และเกษม นันทชัย. (2550). รายงานฉบับสมบูรณ์เรื่องการทดสอบสมรรถนะการเจริญเติบโตและความนุ่มเนื้อในไก่ลูกผสมที่ได้จากพ่อพันธุ์พื้นเมืองไทยกับแม่พันธุ์ทางการค้า. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
12. วรกร มีปาน, ศิริลักษณ์ วงศ์พิเชษฐ และมณฑิชา พุดซาคำ. (2555). การใช้ข้าวเปลือกร่วมกับหนอนแมลงวันสดเป็นอาหารไก่พื้นเมืองช่วงอายุ 1-6 สัปดาห์. ใน รายงานการประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 2. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. หน้า 316-317.
13. สาโรช ค้าเจริญ และเยาวมาลย์ ค้าเจริญ. (2560). อาหารและการให้อาหารสัตว์ไม่เคี้ยวเอื้อง (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
14. อุทัย คันโธ. (2529). อาหารและการผลิตอาหารเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 2. นครปฐม: ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน.
15. อุทัย คันโธ. (2559). อาหารสุกรและสัตว์ปีกเชิงประยุกต์. ฉะเชิงเทรา: ยู เค ที พับลิชชิ่ง.
16. อำนวย เลี้ยวธารากุล, อรอนงค์ พิมพ์คำไหล และศิริพันธ์ โมราถบ. (2542). ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสำหรับการเลี้ยงไก่ลูกผสมพื้นเมือง-โรดไอแลนด์เรดด้วยอาหารและระยะเวลาในการเลี้ยงต่างกัน.ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 37 สาขาสัตว์ สาขาสัตวแพทยศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หน้า 249-257.
17. อำนวย เลี้ยวธารากุล, ดรุณี ณ รังษี และชาตรี ประทุม. (2555). ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองไทยประดู่หางดำ เชียงใหม่พันธุ์แท้และลูกผสม. วารสารแก่นเกษตร 40 (ฉบับพิเศษ 2): 215-418.
18. Chen, X.Q., Nagao, N., Itani, T. and Irifune, K. (2012). Anti-oxidative analysis, and identification and quantification of anthocyanin pigments in different coloured rice. Food Chemistry 135 (4): 2783-2788.
19. Ensminger, M.E. (1992). Poultry Science. 3rd ed. Illinois: Interstate Publishers, Inc. Danville.
20. Steel, R.G.D. and Torrie, J.H. (1980). Principles and Procedures of Statistics (A Biometric Approach). 2nd ed. New York: Mc Graw-Hill.