บุคลิกภาพ 5 มิติ และการจัดการความขัดแย้งของนักศึกษา:กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

จตุพร อุ่นประเสริฐสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงอรรถาธิบาย  โดยใช้วิธีการสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล  ได้แก่ เพศ  อายุ  ระดับการศึกษา  สถานภาพสมรสของบิดา-มารดา และการอบรมเกี่ยวกับการจัดการความขัดแย้งกับการจัดการความขัดแย้ง  วิเคราะห์รูปแบบการจัดการความขัดแย้ง  วัดบุคลิกภาพตามทฤษฏีบุคลิกภาพ 5 มิติ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ 5 มิติ และการจัดการความขัดแย้ง  และวิเคราะห์ความสามารถในการอธิบายความผันแปรระหว่างบุคลิกภาพ 5 มิติ และการจัดการความขัดแย้ง  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ระหว่างชั้นปีที่  1-4 โดยผู้วิจัยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน แบบสุ่มอย่างง่ายและไม่แทนที่ โดยใช้ตารางเลขสุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 396 คน  ใช้แบบสอบถามในการวิจัยและได้แบบสอบถามคืนมาจำนวนทั้งสิ้น 386 ฉบับ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  สถิติเชิงพรรณนา  สถิติเชิงอนุมาน  วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  สถิตไคสแควร์  และวิเคราะห์ความสามารถในการอธิบายความผันแปรด้วยสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า  อายุ มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการจัดการความขัดแย้ง ส่วน  เพศ  ระดับการศึกษา  สถานภาพสมรสบิดา-มารดา  และการอบรมเกี่ยวกับการจัดการความชัดแย้ง  ไม่มีความสัมพันธ์กับการจัดการความขัดแย้ง  นักศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้การจัดการความขัดแย้งแบบการประนีประนอม  และมีบุคลิกภาพแบบมีจิตสำนึกมากที่สุด  บุคลิกภาพทั้ง 5  มิติ  ของนักศึกษาไม่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดการความขัดแย้งแบบการปรองดอง และแบบการประนีประนอม และไม่มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการจัดการความขัดแย้งแบบการร่วมมือ และแบบการแข่งขัน นักศึกษาที่มีบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวสามารถอธิบายความผันแปรต่อการจัดการความขัดแย้งได้ร้อยละ 5.20  ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้คือ  ผู้บริหารหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องควรมีศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับบุคลิกภาพของนักศึกษาให้ชัดเจน  เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลให้นักศึกษามีคุณภาพชีวิตในการเรียนการสอนในการชีวิตในระดับอุดมศึกษาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. พรนพ พุกกะพันธ์. (2542). การบริหารความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: พิมลักษณ์การพิมพ์
2. มะลิ สิงห์เสนา, ประจักร บัวผัน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความขัดแย้งของผู้อำนวยการ โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการบริหารสาธารณสุขคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
3. David Antonioni. (2008). RELATIONSHIP BETWEEN THE BIG FIVE PERSONALITY FACTORS AND CONFLICT MANAGEMENT STYLES. The International Journal of Conflict Management. pp. 4-9.
4. McCrae, R.R., Costa, P.T. Revise. (1992). NEO Personality Inventory and NEO Five-Factor Inventory Professional Manual. Odessa FL: Phychological Assessment Resources :81-90.
5. Rashed Shebeeb Al-Ajmi. (2008). The effect of personal characteristics on conflict management Style A study among public sector employees in Kuwait. An International Business Journal 17:181-192.
6. Syed Shameem Ejaz, Farah Iqbal and Anjum Ara. (2012). Relationship among Personality Traits and Conflict Handling Styles of Call Center Representatives and Appraisal of Existing Service Model. International Journal of Psychological Studies. 4-31.
7. Thomas, K.W., Kilmann, R.H. (1976). Thomas-Kilmann Conflict Mode Instrument. Texedo Park. New York:Xicom Inc: 249-251.
8. Thomas, K.W. (1978). Conflict and conflict management. In M. Dunnette Handbook of industrial and organizational psychology. Chicago Rand Mc Nally: 491-800.