การศึกษาเกณฑ์ประเมินอาคารเขียวของประเทศไทยและต่างประเทศ

Main Article Content

จุฑามาศ สิทธิชัย
วิสาขา ภู่จินดา

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของประเทศไทยและต่างประเทศ ความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การประเมินกับบริบทของประเทศไทย และเสนอแนะการพัฒนาเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวที่เหมาะสมของประเทศไทย ทำการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของประเทศไทยจากสถาบันอาคารเขียวไทย ทำการเปรียบเทียบ โดยเปรียบเทียบเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ซึ่งได้แก่ LEED, BREEAM, CASBEE, TEEAM และ TREES และสรุปเชิงพรรณนาความ เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์การประเมินต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การประเมินกับบริบทของประเทศไทย รวมถึงข้อเสนอแนะในการพัฒนาเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวในประเทศไทย


            ผลการศึกษาได้แบ่งเนื้อหาเกณฑ์การประเมินออกเป็น 5 หมวด ได้แก่ หมวดสถานที่ตั้งอาคารและความยั่งยืนของอาคาร หมวดการใช้พลังงานและการจัดการพลังงาน หมวดการใช้น้ำและการใช้วัสดุทรัพยากร หมวดคุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคารและภายนอกอาคาร และหมวดการบริหารอาคาร นวัตกรรม และการรักษาสิ่งแวดล้อม พบว่าเกณฑ์การประเมินส่วนใหญ่ต่างมีวัตถุประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของอาคาร เพื่อไม่ให้มีผลกระทบด้านลบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการออกแบบอาคารที่ประหยัดพลังงาน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันอาคารเขียวไทยเกี่ยวกับความเหมาะสมของหลักเกณฑ์การประเมินกับบริบทของประเทศไทย พบว่า เกณฑ์การประเมินอาคารเขียวที่ใช้ในประเทศไทยนั้นยังไม่มีความเหมาะสม ผู้ลงทุนและประชาชนทั่วไปขาดความรู้และความเข้าใจในด้านอาคารเขียว ขาดการประสานงานร่วมกันระหว่างผู้สร้างเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของภาครัฐและภาคเอกชน และในปัจจุบันเกณฑ์การประเมินอาคารเขียวของประเทศไทยยังมีไม่ครอบคลุมกับอาคารทุกประเภท และประเทศไทยต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาเกณฑ์การประเมินอาคารเขียว เนื่องจากต้องศึกษาว่าเกณฑ์การประเมินที่นำมาประยุกต์ให้เข้ากับประเทศไทยนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่ เพราะว่าทุกพื้นที่ ทุกอาคาร ก็มีปัญหาเกิดขึ้นแตกต่างกันออกไป เนื่องจากสภาพพื้นที่ของอาคารแต่ละแห่งมีความแตกต่างกัน และต้องมีการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านอาคารเขียวให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงจะทำให้การก่อสร้างอาคารเขียวประสบความสำเร็จได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2556). สถิติพลังงานของประเทศไทย 2556 (เบื้องต้น). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สารสนเทศข้อมูลพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน.
2. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน และ สถาบันวิจัยพลังงานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2550). โครงการดำเนินการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารโดยการติดฉลาก. ค้นวันที่ 23 พฤศจิกายน 2557 จาก http://www.dede.go.th/dede/fileadmin/upload/nov50/File51-3/proj.pdf
3. กระทรวงพลังงาน. (2554). แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2555-2573). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพลังงาน.
4. กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน. (2551). การประหยัดพลังงานในที่ทำงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน.
5. ศูนย์อนุรักษ์พลังงานแห่งประเทศไทย. (2544). การประหยัดพลังงานในสถานที่ทำงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ.
6. สถาบันอาคารเขียวไทย. (2555). เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงาน และสิ่งแวดล้อมไทย สำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่. กรุงเทพมหานคร: สถาบันอาคารเขียวไทย.
7. สิริพันธุ์ เจวะ. (2558). แนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทบ้านและคอนโดมิเนียมเป็นอาคารเขียวกับบริบทของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
8. สถาบันอาคารเขียวไทย. (2555). เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย สำหรับการก่อสร้างและปรับปรุงโครงการใหม่. กรุงเทพมหานคร: สถาบันอาคารเขียวไทย.
9. The Building Research Establishment Ltd. (2011). BREEAM New Construction (Non-Domestic Buildings. Retrieved November 15, 2014 from http://www.breeam.org/breeamGeneralPrint/breeam_non_dom_manual_3_0.pdf
10. Institute for Building Efficiency. (2013). Green Building Rating Systems: Japan. Retrieved November 19, 2014 from http://www.institutebe.com/InstituteBE/media/Library/Resources/Green%20Buildings/Fact-Sheet_Green-Building-Ratings_JAPAN.pdf
11. U.S. Environmental Protection Agency. Green Building. Retrieved November 17, 2014 from http://archive.epa.gov/greenbuilding/web/html/about.html