ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้กำเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

วิทมา ธรรมเจริญ

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้กำเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในจังหวัดจันทบุรี และสร้างสมการพยากรณ์น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ของทารกแรกเกิดในจังหวัดจันทบุรี โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ มารดาที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี โดยศึกษาเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี ได้ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาจำนวน 548 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบสองกลุ่ม (Binary Logistic Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรอิสระ
2 ปัจจัยหลัก คือปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม สามารถอธิบายความผันแปรของทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ได้ร้อยละ 43.5 นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบสองกลุ่ม พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการให้กำเนิดทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในจังหวัดจันทบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 7 ด้าน ได้แก่อายุครรภ์เมื่อคลอด จำนวนครั้งที่ฝากครรภ์ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค การมีภาวะแทรกซ้อน การคลอดก่อนและหลังกำหนด การมีสัญชาติพม่า และเขตที่อยู่อาศัย ซึ่งสามารถสร้างสมการพยากรณ์น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ของทารกแรกเกิดในจังหวัดจันทบุรีได้ดังนี้


            Z  =  -3.853 + 1.441** (อายุครรภ์เมื่อคลอด) - 0.223** (จำนวนครั้งที่ฝากครรภ์)


                    + 1.093** (การฉีดวัคซีนป้องกันโรค) + 0.848** (การมีภาวะแทรกซ้อน)


                     + 2.472** (การคลอดก่อนและหลังกำหนด) + 3.240** (การมีสัญชาติพม่า)


                     +1.174** (อาศัยในเขตเทศบาล)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://bps.moph.go.th/sites/default /files/strategy_and_kpi_2558.pdf. (2558).
2. วิกิพีเดีย. (2559). จังหวัดจันทบุรี. [online]. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดจันทบุรี
3. วิทยา ถิฐาพันธ์. วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.si.mahidol.ac.th/th/tvdetail.asp?tvid=428. 2556.
4. สมนึก น้อยนงเยาว์. (2539). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อน้ำหนักทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลรามาธิบดี. วิทยานิพนธ์วิทยา ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
5. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข. สรุปสถิติที่สำคัญ พ.ศ.2556. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.m-society.go.th/article_attach /11378/15693.pdf. (2556).
6. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติการเกิดมีชีพที่สำคัญของประเทศไทย พ.ศ. 2552, 2553, 2554, 2555, 2556. [online]. เข้าถึงได้จาก :
http://bps.moph.go.th/content/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%
E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94. (2556).
7. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและร้อยละของเด็กเกิดมีชีพน้ำหนักต่ำ กว่า 2,500 กรัมจำแนกรายภาคและเพศ พ.ศ. 2552 – 2556. [online]. เข้าถึงได้จาก : http://bps.moph.go.th /content/% E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%
B8%94. (2556).