ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดที่มีต่อโรคหลังการเก็บเกี่ยวของกล้วยไข่ที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium sp.

Main Article Content

พิกุล นุชนวลรัตน์

บทคัดย่อ

             ผลของสารสกัดหยาบจากพืชสมุนไพร 22 ชนิด ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Fusarium sp. สาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวของกล้วยไข่ พบว่าสารสกัดจากพืชที่ใช้ในการทดลอง มีผลยับยั้งเชื้อราในการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ   สารสกัดหยาบจากอบเชย (Cinnamomum zeylanicum), กานพลู (Syzygium aromaticum),  โป๊ยกั๊ก (Illicium verum), เทียนบ้าน (Impatiens balsamina), ช้าพลู (Piper sarmentosum) และว่านน้ำ (Acorus calamus) ที่ความเข้มข้น 10,000 ppm และสารเบนโนมิลความเข้มข้น 600 ppm สามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใย และการงอกของสปอร์เชื้อรา Fusarium sp. ได้สมบูรณ์ เท่ากับ 100.00 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม      การจุ่มกล้วยไข่ที่ทำการปลูกเชื้อรา Fusarium sp. ด้วยสารสกัดจากอบเชย กานพลู โป๊ยกั๊ก เทียนบ้าน  ช้าพลู  แฝกหอม และว่านน้ำที่ความเข้มข้น 10,000 ppm และสารเบนโนมิลความเข้มข้น 600 ppm นาน 5 นาที พบว่าสารสกัดจากพืชต่างชนิดกันสามารถลดความรุนแรงของโรคจากเชื้อราได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติทุกทรีตเมนต์สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ระหว่าง 21.33-38.50 เปอร์เซ็นต์   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กัลยา ศรีพงษ์. (2551). การใช้แบคทีเรียที่มีคุณสมบัติผลิตเอนไซม์ไคติเนสร่วมกับ 1-MCP และ active packaging ในการควบคุมโรคขั้วหวีเน่าของกล้วยหอมทอง. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ.
2. ธารทิพย์ ภาสบุตร. (2540). ผลของสารสกัดจากพืชบางชนิดที่มีต่อเชื้อราสาเหตุโรคแอนแทรคโนสของมะม่วง (Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Sacc.). วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
3. สิริวรรณ สมิทธิอาภรณ์. (2547). การควบคุมโรคแอนแทรคโนสและโรคขั้วผลเน่าในมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้โดยการใช้สารสกัดจากพืช. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
4. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2555. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: www.oae.go.th/download/download_journal/commodit55.pdf. (2555).
5. Alvindia, D.G. and Nutsuaki, K.T. (2007). Control of crown rot-causing fungal pathogens of banana by inorganic salts and a surfactant.
Crop Protection 26:1667-1673.
6. Dhingro, O. D. and Sinclair, J. B., (1986), Basic plant pathology methods, CRC Press Inc, Boca Baton, Florida.
7. Jitareerat, P., Kriratikron, W., Phochanachai, S., and Uthirattanakij, A. (2005). Effect of Gamma Irradiation on Fungal Growths and Their Pathogenesis on
Banana cv. ‘Kluai Kai’. International Symposium” New Frontier of Irradiated food and Non-Food Products”. 22-23 September 2005, KMUTT, Bankok, Thailand.
8. Khruasanit, N. (2004). Anti-phytopathogenic fungal activity from some Thai medicinal herb. Thesis (M.Sc.), Chulalongkom University, Thailand.
9. Mungkomasawakul, P., Supyen, D., Jatisatienr, D. and Jatisaticnr, A. (2002). Inhibitory effect of Acorus calamus L. extract on some plant pathogenic molds. Acta Horticulturae. 576, 341-345.
10. Ranasinghe, L.S., Jayawardena, B. and Abeywickrama, K. ( 2002). Fungicidal activity of essential oils of Cinnamomum zeylanicum (L.) and Syzygium aromaticum (L.) Merr et L.M.Perry against crown rot and anthracnose pathogens isolated from banana. Letters in Applied Microbiology 35: 208–211.
11. Shahidul Alam, M., Nis Ahter, Most Ferdousi Begum, M., Sabina, M. Rafiqulislam. (2002). Antifungal activities (In vitro) of some plant extracts and smoke on four fungal pathogens of different hosts. Pakistan Journal of Biological Sciences 5(3): 307-309.
12. Soatthiamroong, T., Jatisatienr, C. and Supyen, D. Antifungal activity of extract of Eugenia aromatica (L.) Baill.(Myrtaceae) against some plant pathogenic molds. ISHS Acta Horticulturae 597: International Conference on Medicinal and Aromatic Plants (Part II). [Online]. Available: http://www.actahort.org/books/597/597_29.htm. (2003).