การตรวจสอบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารพร้อมบริโภค ในมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การตรวจสอบเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหารพร้อมบริโภคประเภทข้าวแกงที่มีจำหน่ายในโรงอาหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี บริเวณใต้อาคารเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร 35) และโรงอาหารข้างหอพักนักศึกษาหญิง ใช้ชุดทดสอบจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (SI-2) และวิธีเอ็มพีเอ็น (Most probable number, MPN) โดยแบ่งประเภทของอาหารที่ตรวจสอบออกเป็น 3 ประเภท ตามอุณหภูมิที่ใช้ในการปรุง คือ ประเภทต้มหรือแกง ประเภทผัดหรือทอด และประเภทยำหรือน้ำพริก สุ่มเก็บตัวอย่างอาหารในช่วง 11.00-12.00 น. จำนวน 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันสองสัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 30 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียในตัวอย่างอาหารทุกประเภท คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งการใช้ชุดทดสอบ SI-2 ให้ผลการปนเปื้อนในระดับมาก (++) คิดเป็นร้อยละ 96.67 และปนเปื้อนระดับน้อย (+) คิดเป็นร้อยละ 3.33 ส่วนการตรวจสอบด้วยวิธีเอ็มพีเอ็น พบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรียที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพจุลินทรีย์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (2536) คิดเป็นร้อยละ 23.33 และร้อยละ 16.67 ตามลำดับ ส่วนที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 76.67 และร้อยละ 83.33 ตามลำดับ โดยประเภทของอาหารที่มีการปนเปื้อนโคลิฟอร์มแบคทีเรียและฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรียมากที่สุด คือ ประเภทยำหรือน้ำพริก รองลงมาคือ ประเภทผัดหรือทอด และประเภทต้มหรือแกง ตามลำดับ
Article Details
References
2. ดารณี แก้วจุมพล. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียของอาหารถุงที่จำหน่ายในตลาดประเภทที่ 1 : กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดหนองคาย. กลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อม ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
3. ธวัชชัย เนียรวิฑูรย์ วรางคณา สังสิทธิสวัสดิ์ ถิรพงษ์ ถิรมนัส และพิพัฒน์ ศรีเบญจลักษณ์. (2540). การตรวจสอบคุณภาพทางจุลินทรีย์ในอาหารพร้อมบริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม. 20(3): 27-36.
4. พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2545). โคลิฟอร์ม (Coliform). ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร[Online]. เข้าถึงได้จาก http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/1127/coliform. เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2558.
5. วิลาวัณย์ เจริญจิระตระกูล. (2539). จุลินทรีย์ที่มีความสำคัญด้านอาหาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. หน้า 4-7.
6. ศูนย์ห้องปฏิบัติการ กรมอนามัย. ม.ป.ป. คู่มือการใช้อาหารตรวจเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย (SI Medium, อ.13) ในการตรวจสอบการปนเปื้อนภาชนะสัมผัสอาหาร มือผู้สัมผัสอาหาร
และอาหาร. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
7. ศิริพร ทวีโรจนการ. ม.ป.ป. การตรวจสอบคุณภาพทางจุลินทรีย์ในอาหารพร้อมบริโภคที่จำหน่ายบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
8. สมาคมวิศวกรสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย. (2540). วิเคราะห์น้ำเสีย. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.
9. APHA, AWWA and WEF. (1992). Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater. 18th ed. Washington, DC : American Public Health Association