ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พื้นที่ในการศึกษา หมู่ที่ 9 ต.คำโตนด อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง พื้นที่ในการศึกษา หมู่ที่ 9 ต.คำโตนด อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี โดยทำการจัดเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีร่วมออกแบบคำถามวิจัย (Participatory Design, Co-Design) ของผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder) พบว่า การบริหารเงินกองทุนของคณะกรรมการกองทุนไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 กำหนดไว้ เนื่องจากนำเงินสมทบของรัฐบาลและเงินฝากของสมาชิก ปล่อยกู้โดยปราศจากการพิจารณาถึงความสามารถของลูกหนี้ในการชำระหนี้และยังนำเงินดังกล่าวไปจัดสรรให้กับสมาชิกในรูปของเงินปันผล จนก่อให้เกิดปัญหาเงินกองทุนหมดไปและส่งผลให้กองทุนไม่อาจดำเนินการต่อไปได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเงินงบประมาณของรัฐและความเสียหายต่อสมาชิกกองทุนโดยตรง นอกจากนั้นยังทำให้โครงสร้างระบบสังคมในการออมเงินภายในชุมชนไม่ได้เป็นไปตามแนวคิดที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น จึงควรมีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านโดยให้สถาบันการเงินของรัฐเป็นเสมือนหน่วยงานสนับสนุนจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านร่วมกับประชาชนทั้งแนวทางการจัดตั้ง การบริหารและการจัดสรรผลประโยชน์ภายในกองทุน และจะต้องมีมาตรการในการป้องกันความเสียหายจากเงินฝากโดยการสำรองเงินฝากไว้กับสถาบันการเงินที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนในเขตกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งนั้น ๆ และควรกำหนดความรับผิดของคณะกรรมการในกรณีทุจริตต่อหน้าที่หรือยักยอกทรัพย์ของกองทุนและกำหนดให้สมาชิกเป็นผู้เสียหายโดยตรงในการที่จะดำเนินคดีกับคณะกรรมการกองทุนและกำหนดสิทธิของสมาชิกในการมีส่วนร่วมบริหารกองทุนโดยให้สิทธิที่จะสามารถสอบถามความเป็นไปถึงรายได้ รายจ่าย ผลประโยชน์และการให้เงินปันผลต่อสมาชิกภายในกองทุนไว้ในพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ เพื่อประกันความเป็นธรรมและความมั่นคงของกองทุน
Article Details
References
2. ประสิทธิ์ สุทธินุ้ย. (2550). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
3. ปรีชา สุวรรณทัตและทรงพล พนาวงศ์. (2555). คำอธิบายพระราชบัญญัติสหกรณ์และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2542 (กฎหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน). กรุงเทพมหานคร: จามจุรี โปรดักส์.
4. ศุภโชค ชุนอิ๋ว. (2545). กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง. รัฐสภาสาร. 50 (4): 77-132.
5. อนันต์ ช่วยนึก. (2555). สถานะความเป็นผู้เสียหายในการใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมายของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง. บทบัณฑิตย์. 68(3): 143-155.
6. อภิชาต สถิตนิรามัย. (2549). เมื่อธนาคาร-การไปรษณีย์ญี่ปุ่น หมดภารกิจทางประวัติศาสตร์. เข้าถึงได้จาก: http://www.onopen.com/2007/01/2247[2556, 4 เมษายน].
7. Huhammad, Yunus. (2553). นายธนาคารเพื่อคนจน. แปลจากเรื่อง Vers UN Monde sans pauvrete ของ Huhammad Yunus (สฤณี อาชวานันทกุล, แปล) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: มติชน.