การพัฒนาเพิ่มผลผลิตข้าวเกรียบหอยนางรมดิบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการเพิ่มผลผลิต ต้นทุนการผลิตข้าวเกรียบหอยนางรมดิบแห้งระหว่างเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนกับการทำแห้งด้วยแสงแดด และการวิเคราะห์ต้นทุนเชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม โดยการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้เครื่องอบแห้งแบบลมร้อนชนิดถาดขนาด 80 x 85 x 190 เซนติเมตร จำนวน 12 ถาด ใช้พลังงานไฟฟ้า และเชื้อเพลิง
แก็ส อบด้วยอุณหภูมิ 50 60 และ 70 °C เป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมง พบว่า ผลการวิเคราะห์ ปริมาณความชื้น ค่า aw ของข้าวเกรียบหอยนางรมที่ทำแห้งด้วยอุณหภูมิ 70 °C ระยะเวลา 3 ชั่วโมง
มีความเหมาะสมมากที่สุด โดยมีปริมาณความชื้นเท่ากับร้อยละ 11.37 ค่า aw เท่ากับ 0.68 เมื่อทำการเปรียบเทียบผลผลิต ข้าวเกรียบหอยนางรมด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนที่อุณหภูมิ 70 °C ระยะเวลา 3 ชั่วโมง กับการทำแห้งด้วยแสงแดด พบว่า การทำแห้งข้าวเกรียบด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนมีผลผลิตมากกว่าการทำแห้งด้วยแสงแดด คิดเป็นร้อยละ 16.67 โดยการทำแห้งข้าวเกรียบด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนมีกำลังการผลิต 45 กิโลกรัมต่อวัน ส่วนการทำแห้งข้าวเกรียบด้วยแสงแดดมีกำลังการผลิต 37.50 กิโลกรัมต่อวัน และเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตข้าวเกรียบหอยนางรมที่ทำแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนกับการทำแห้งด้วยแสงแดดต่อครั้ง พบว่า ข้าวเกรียบหอยนางรมที่ทำแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนมีต้นทุน 1,467.66 บาท ส่วนข้าวเกรียบหอยนางรมทำแห้งด้วยแสงแดดมีต้นทุน 1,543.81 บาท และต้นทุนเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนเท่ากับ 159,000 บาท สามารถคืนทุนได้ในเวลา 6 เดือน 7 วัน
Article Details
References
2. กอบพัชรกุล เป็นบุญ. 2550. การอบแห้งลำไยแผ่นโดยใช้เทคนิคผสมระหว่างเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์กับเตาอบลมร้อน และเตาอบพลังงานแสงอาทิตย์กับเตาอบไมโครเวฟแบบสุญญากาศ. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
3. ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2557). อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.bot.or.th/thai/statistics/financialmarkets/interestrate/_layouts/application/interest_rate/IN_Rate.aspx : 15 พฤศจิกายน 2557.
4. ธีรพจน์ แนบเนียน. (2554). การพัฒนาเครื่องอบแห้งพริกโดยใช้เทคโนโลยี Plate Heat Exchanger เพื่อการประหยัดพลังงานและลดภาวะโลกร้อน. รายงานการวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
5. ปทุมพร โสตถิรัตนพันธุ์. (2551). การดัดแปลงกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบว่าวพร้อมบริโภค. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
6. วิไล รังสาดทอง. (2543). เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น. กรุงเทพ ฯ. 401 น.
7. AOAC. (1995). Official Methods of Analysis. 16th ed., Association of Official Analytical Chemists, Washington. D.C.
8. Doymaz, I., Tugrul, N., and Pala, M. (2006). “Drying characteristics of dill and parsley leaves,” Journal of Food Engineering, 77(3) : 559-565.
9. Geankoplis, C.J. (2003). Transport process and separation process principles. 4th ed. Prentice Hall Professional Technical Reference, New Jersey.