ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการทำสวนยางพารา กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

กาสูหรี สาอีซา
วิสาขา ภู่จินดา

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการทำสวนยางพารา กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา โดยคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ปัจจัยนำเข้าตั้งแต่กระบวนการปลูกยางพารา กระบวนการดูแลยางพาราก่อนกรีด กระบวนการดูแลยางพาราหลังกรีด กระบวนการกรีดและจำหน่ายผลผลิต (น้ำยาง) จากการศึกษาพบว่า ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมมากที่สุดตั้งแต่กระบวนการปลูกยางพาราจนกระทั่งกระบวนการจำหน่ายผลผลิต (น้ำยาง) เท่ากับ 1,587.272  kgCO2eq/ไร่ /ปี โดยกระบวนการกรีดยางและจำหน่ายผลผลิต (น้ำยาง)  เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด และจากการกำหนดสถานการณ์ทั้งหมด 3 สถานการณ์ ได้แก่ 1) การใช้แรงงานคนในการเตรียมพื้นที่กับการใช้เครื่องจักรในการเตรียมพื้นที่ 2) การใส่ปุ๋ยเคมีในการบำรุงรักษาหลังกรีดกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการบำรุงรักษาหลังกรีด  และ 3) การใช้ยาปราบวัชพืชกำจัดวัชพืชหลังกรีดกับการใช้เครื่องตัดหญ้ากำจัดวัชพืชหลังกรีด พบว่าการทำสวนยางพาราที่ใช้แรงงานคนในการเตรียมพื้นที่ ใช้ปุ๋ยเคมีในการบำรุงรักษายางพาราหลังกรีด และใช้ยาปราบวัชพืชในการกำจัดวัชพืชหลังกรีด มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด เท่ากับ 158.958 kgCO2eq/ไร่ /ปี และการทำสวนยางพาราที่ใช้แรงงานคนในการเตรียมพื้นที่ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการบำรุงรักษายางพาราหลังกรีดและใช้เครื่องตัดหญ้าในการกำจัดวัชพืชหลังกรีดมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด เท่ากับ 15.900 kgCO2eq/ไร่ /ปี ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้เพื่อหาแนวทางการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการทำสวนยางพาราและเผยแพร่ข้อมูลแก่เกษตรกรผู้ทำสวนยางพาราเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2554). โครงการส่งเสริมการใช้ฉลากคาร์บอนสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน. กรุงเทพฯ : สามารถก๊อปปี้ จำกัด.
2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2553). โครงการจัดทาบัญชีก๊าซเรือนกระจก พื้นที่สวนป่าองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้. เข้าถึงได้จาก : http://www.fio.co.th/p/km/document/km-530108.pdf (6 มีนาคม 2557)
3. คณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ. (2553). ยุทธศาสตร์พัฒนายางพารา พ.ศ. 2552 – 2556. เข้าถึงได้จาก : http:// www.rubberthai.com/about/pdf/strategy.pdf (7 มีนาคม 2557)
4. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์ การจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย. เข้าถึงได้จาก :
http:// www.onep.go.th/index.php?option=com_content...id (6 มีนาคม 2557)
5. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2555). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2555. เข้าถึงได้จาก : http://www.oae.go.th/download/download_journal/yearbook55.pdf
(15 มิถุนายน 2557)
6. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2554). พื้นฐานด้านกลไกการพัฒนาที่สะอาด. เข้าถึงได้จาก : http:/http://www.tgo.or.th/index.php (11 มีนาคม 2557)
7. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2554). แนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร. เข้าถึงได้จาก : http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/
(6 มีนาคม 2557)
8. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(องค์การมหาชน). (2555). ช่วยโลกคลายร้อน@องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: พีทู ดีไซน์ แอนด์ พริ้นท์ จำกัด
9. องค์การบริหารสวนตำบลเขาพระ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. (2557). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2557 – 2559)
10. Warit Jawjit, Carolien Kroeze, Suwat Rattanapan . (2009). Greenhouse gas emissions from rubber industry in Thailand. Faculty of Science and Technology (Saiyai), Rajamangala University of Technology Srivijaya, Thailand
11. S. Petsri , A. Chidthaisong , N. Pumijumnong , C. Wachrinrat . (2013). Greenhouse gas emissions and carbon stock changes in rubber tree plantations in Thailand from 1990 to 2004. King Mongkut’s University of Technology Thonburi, Thailand