การศึกษาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ผลไม้ภาคตะวันออกเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

Main Article Content

ทรงศักดิ์ มิ่มกระโทก
สำราญ ชำโสม
ดวงมณี ทองคำ
ดวงรัตน์ สวัสดิ์มงคล
กชกร มิ่มกระโทก

บทคัดย่อ

        การศึกษาประสิทธิภาพโลจิสติกส์ผลไม้ภาคตะวันออกเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโลจิสติกส์ผลไม้ภาคตะวันออก กำหนดเกณฑ์ชี้วัดมาตรฐานโลจิสติกส์ผลไม้ภาคตะวันออก และประเมินประสิทธิภาพโลจิสติกส์ผลไม้ภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่าง ผลไม้ภาคตะวันออก เฉพาะกล้วยไข่ ทุเรียน มังคุด และลำไย ได้แก่ เกษตรกร และพ่อค้าหรือผู้ประกอบการรวบรวมผลผลิต และส่งออกผลไม้ กล้วยไข่ ทุเรียน มังคุด และลำไย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดตราด การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสังเกต การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย (focus group) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล และการแปลผลความหมายโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ


ผลการวิจัย พบว่า
           ระบบโลจิสติกส์ผลไม้ภาคตะวันออก ประกอบด้วยเกษตรกรผู้ผลิตผลไม้ พ่อค้าย่อย ผู้เก็บเกี่ยวหรือรับซื้อผลไม้จากเกษตรกร ล้ง ผู้รวบรวม และผู้ประกอบการหรือผู้ส่งออก จัดจำหน่ายภายในประเทศและต่างประเทศ  


            เกณฑ์ชี้วัดมาตรฐานโลจิสติกส์ผลไม้ภาคตะวันออก เป็นการกำหนดตัวชี้วัดตามกิจกรรมโลจิสติกส์สำหรับเกษตรกร และพ่อค้าหรือผู้ประกอบการ เกณฑ์ชี้วัดมาตรฐาน ประกอบด้วย สัดส่วนต้นทุนการจัดหาปัจจัยการผลิตต่อยอดขาย  สัดส่วนต้นทุนการดูแลรักษาต่อมูลค่ายอดขาย สัดส่วนต้นทุนการเก็บเกี่ยวและคัดคุณภาพต่อมูลค่ายอดขาย สัดส่วนต้นทุนการบรรจุภัณฑ์ต่อมูลค่ายอดขาย สัดส่วนต้นทุนการขนส่งต่อมูลค่ายอดขาย และสัดส่วนต้นทุนคลังสินค้าต่อมูลค่ายอดขาย


            ต้นทุนโลจิสติกส์ผลไม้ เป็นต้นทุนทุกกิจกรรมโลจิสติกส์ของเกษตรกร พ่อค้าย่อย ล้ง และพ่อค้าผู้ส่งออก จากการศึกษา พบว่า ต้นทุนโลจิสติกส์กล้วยไข่ เกษตรกร สูงสุด คือ ด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 8.00 บาท พ่อค้าย่อย สูงสุด คือ ด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 3.00 บาท ล้ง สูงสุด คือ ด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 2.00บาท ผุ้ประกอบการหรือผู้ส่งออก สูงสุด คือด้านคลังสินค้า 3.00 บาท ต้นทุนโลจิสติกส์ทุเรียน  เป็นการคิดราคาขายทุเรียนส่งออกเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60 บาท พบว่า ต้นทุนโลจิสติกส์ทุเรียน เกษตรกร สูงสุด คือ ด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 8.00 บาท พ่อค้าย่อย สูงสุด คือด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 3.00 บาท ล้ง สูงสุด คือ ด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 2.00 บาท พ่อค้า/ผู้ส่งออก สูงสุด คือ ด้านการขนส่ง 2.50 บาท ต้นทุนโลจิสติกส์มังคุด เกษตรกร สูงสุด คือด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 6.00 บาท  พ่อค้าย่อย สูงสุด คือ ด้านการเก็บเกี่ยว/การคัดคุณภาพ 2.00 บาท ล้ง สูงสุด คือ ด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 2.00 บาท  พ่อค้า/ผู้ส่งออก สูงสุด คือ ด้านการบรรจุภัณฑ์ 3.00 บาท  ต้นทุนโลจิสติกส์ลำไย เกษตรกร สูงสุด คือด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 7.00 บาท พ่อค้าย่อย สูงสุด คือด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 2.50 บาท ล้ง สูงสุด คือ ด้านการเก็บเกี่ยว/การคัดคุณภาพ 2.25 บาท พ่อค้า/ผู้ส่งออก สูงสุด คือ ด้านการบรรจุภัณฑ์ 3.00 บาท ด้านการ


            ประสิทธิภาพโลจิสติกส์กล้วยไข่ เกษตรกร สูงสุด คือด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 0.12  พ่อค้าย่อย สูงสุด คือด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 0.05 ล้ง สูงสุด คือด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 0.03 พ่อค้า/ผู้ส่งออก สูงสุด คือ ด้านคลังสินค้า 0.05 ประสิทธิภาพโลจิสติกส์ทุเรียน เกษตรกร สูงสุด คือด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 0.13 พ่อค้าย่อย สูงสุด คือ ด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 0.05  ล้ง สูงสุด คือด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 0.03 ด้านการขนส่ง 0.03 และด้านคลังสินค้า 0.03  พ่อค้า/ผู้ส่งออก สูงสุด คือ ด้านการขนส่ง 0.04 และ ประสิทธิภาพโลจิสติกส์มังคุด เกษตรกร สูงสุด คือด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 0.10  และด้านการดูรักษา 0.10 พ่อค้าย่อย สูงสุด คือด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 0.03 ด้านการเก็บเกี่ยว/การคัดคุณภาพ 0.03 และด้านการขนส่ง 0.03 ล้ง สูงสุด คือด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 0.03 ด้านการเก็บเกี่ยว/การคัดคุณภาพ 0.03 ด้านการขนส่ง 0.03 และด้านคลังสินค้า 0.03  พ่อค้า/ผู้ส่งออก สูงสุด คือ ด้านการบรรจุภัณฑ์ 0.05  ประสิทธิภาพโลจิสติกส์ลำไย เกษตรกร สูงสุด คือด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 0.16 พ่อค้าย่อย สูงสุด คือด้านการจัดหาปัจจัยการผลิต 0.06  ล้ง สูงสุด คือ ด้านการเก็บเกี่ยว/การคัดคุณภาพ 0.05 พ่อค้า/ผู้ส่งออก สูงสุด คือ ด้านการบรรจุภัณฑ์ 0.13 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กลุ่มส่งเสริมการผลิตไม้ผล (2555) การวิเคราะห์สถานการณ์และแนวทางการดำเนินงาน ปี 2555 Available http://www.agriman.doae.go.th
2. สมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทย (2555) สถานการณ์ราคาผลไม้. Available http://www.contactgroupco.com/blog/news/
3. สำนักส่งเสริมสินค้าส่งออก (2555) สถานการณ์ผลไม้ ปี ๒๕๕๕ Available http://www.agriman.doae.go.th
4. ส่วนวิจัยเศรษฐกิจพืชสวน (ม.ป.ป.) ระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานผลไม้สดภาคตะวันออก. สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร.
5. ศูนย์ข้อมูลความรู้ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (2555) AEC คือ อะไร Available http://www.thai-aec.com/41#ixzz23DWPvfM9