บทบาท ผลกระทบ และมาตรการแก้ไขเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติในเขตชุมชนชาวประมงของจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา : กรณีศึกษา อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

อัศวิน แก้วพิทักษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาท ผลกระทบ แนวทางรวมถึงมาตรการในการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติ ในเขตชุมชนชาวประมง อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี วิธีการศึกษาใช้การวิจัยเชิงบูรณาการ(Mixed Method) ระหว่าง การวิจัยเชิงสำรวจและการวิจัยในเชิงคุณภาพเชิงประวัติศาสตร์ การวิจัยเชิงสำรวจ จะใช้กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในอำเภอแหลมสิงห์ที่มีความเกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติกัมพูชา จำนวน 200 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ และวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเชิงประวัติศาสตร์ จะใช้การสัมภาษณ์ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ แรงงานข้ามชาติ นายจ้างเรือประมงและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง


          ผลการวิจัยพบว่า แรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชามีบทบาทต่อชุมชนชาวประมง อำเภอแหลมสิงห์ ในฐานะที่เป็นหน้าที่(Function)หนึ่งของระบบการทำประมงที่มีการพัฒนาเชิงทุนนิยม กล่าวคือ ระบบการทำประมงก่อนหน้าทุนนิยมนั้น ระบบประมงพื้นบ้านทั้งการผลิตเพื่อยังชีพและการผลิตสินค้าอิสระรายย่อย มิได้มีความจำเป็นต้องใช้แรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชา แต่หลังจากที่มีการพัฒนาพลังการผลิตโดยการใช้เทคโนโลยีการประมงสมัยใหม่และทำให้เกิดความสัมพันธ์แบบทุนนิยม แรงงานข้ามชาติก็เป็นปัจจัยจำเป็นของการทำประมงแหลมสิงห์ สำหรับการเปรียบเทียบผลกระทบเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติระหว่างก่อนและหลังนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) จะพบว่า ด้านเศรษฐกิจ มีผลกระทบปานกลางไม่แตกต่างกัน   ด้านสังคมมีผลกระทบน้อยลง ด้านการเมืองการปกครอง มีผลกระทบน้อยลงค่อนข้างมาก  และด้านสาธารณสุข มีผลกระทบน้อยลง มาตรการในการแก้ไขปัญหาแรงงานข้ามชาติ พบว่า สามารถนำเสนอเป็นแบบจำลอง (Model)เป็น 2 ระดับ คือ มาตรการระดับแรกเพื่อการแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้าง ควรใช้การจัดการประมงร่วมกันระหว่างรัฐกับชุมชน และมาตรการลำดับที่สองในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น รัฐควรให้มีการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติตลอดทั้งปี รัฐควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติที่เหมาะสม และการจัดตั้งศูนย์ร้องเรียนแรงงานข้ามชาติในชุมชนที่มีแรงงานข้ามชาติอาศัยอยู่ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กังวาลย์ จันทรโชติ.(2541).การจัดการประมงโดยชุมชน.ภาควิชาการจัดการประมง คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
2. ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์.(2555).วิธีวิทยาการวิจัยทางสังคม.สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
3. ทอน เบง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, อัศวิน แก้วพิทักษ์ เป็นผู้สัมภาษณ์, (10 มกราคม 2558).ที่บ้านเช่าแรงงานข้ามชาติ จังหวัดจันทบุรี.
4. ธวัชชัย หลวงอินทร์ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, อัศวิน แก้วพิทักษ์ เป็นผู้สัมภาษณ์, (9 ตุลาคม 2557).สำนักงานวิทยุกระจายฝั่ง อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี.
5. ธีรวัลย์ ศิลารัตน์.(2550).การจัดการความรู้ด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชน อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี.สถาบันวิจัยและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
6. มนัส เจริญสิทธิ์ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, อัศวิน แก้วพิทักษ์ เป็นผู้สัมภาษณ์, (18 กรกฎาคม 2557).ที่โรงพยาบาลแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี.
7. วิฑูรย์ ปัญญากุล.(2547).ปลา หายไปไหน สาเหตุและผลกระทบจากการทำประมงเกินขีดจำกัด.มูลนิธิสายใยแผ่นดิน เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ.
8. วินัย ลิ้นทอง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, อัศวิน แก้วพิทักษ์ เป็นผู้สัมภาษณ์, (9 พฤศจิกายน 2557).ที่ท่าเรือสิงห์อำนวย จังหวัดจันทบุรี.
9. วิรัช ลิ้นทอง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, อัศวิน แก้วพิทักษ์ เป็นผู้สัมภาษณ์, (13 พฤศจิกายน 2557).ที่ท่าเรือสิงห์อำนวย จังหวัดจันทบุรี.
10. ประเสริฐ เนินริมหนอง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์, อัศวิน แก้วพิทักษ์ เป็นผู้สัมภาษณ์, (24 กรกฎาคม 2557).ที่สมาคมประมง แหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี.
11. สุคนธา จันทรุปราคากุล.(2551).ผลกระทบจากแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมประมงในจังหวัดสมุทรสาคร. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขารัฐประศาสนศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.