แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

พัชรินทร์ รุจิรานุกูล
ธันวดี ดอนวิเศษ

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จำแนกตามสถานภาพภูมิหลัง และนำเสนอแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในจังหวัดจันทบุรี ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเพื่อถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรีที่ได้รับการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 396 คน จากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ตามอำเภอ แบบสอบถามที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 31 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .25 - .88 และค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (SPSS) ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบค่าที (t–test) ส่วนการนำเสนอแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในจังหวัดจันทบุรีใช้วิธีการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า


            1) ระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับดี 5 ด้าน และระดับปานกลาง 1 ด้าน เรียงตามลำดับคะแนนจากมากไปน้อยคือ ด้านคุณธรรม ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านสังคม ด้านสุขภาพอนามัย ด้านสติปัญญา และด้านเศรษฐกิจ


            2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดจันทบุรี จำแนกตามสถานภาพภูมิหลัง ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ โดยรวมพบว่า มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อจำแนกตามสถานภาพภูมิหลัง ได้แก่ การมีโรคประจำตัว และการเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ โดยรวมพบว่า มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05         
            3) แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในจังหวัดจันทบุรี พบว่า ควรมีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทั้งในด้านสุขภาพอนามัย ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ด้านสติปัญญา ด้านเศรษฐกิจ
ด้านคุณธรรม และด้านสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการพัฒนาชุมชน. (2555). จปฐ.1 ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ปี 2555-2559. กระทรวงมหาดไทย.
2. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2555). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
3. รณรุทธ์ บุตรแสนคม. (2540). รายงานการวิจัยเรื่อง คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตชนบทจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
4. ศิราณี ปันคำ. (2542). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตชนบทจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
5. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรี. (2556). จำนวนประชากร จำแนกตามช่วงอายุ ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.). ชลบุรี: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดจันทบุรี.
6. Best, John W. (1970). Research in Education. New Jersey: Prentice-Hill.
7. Cronbach, L.J. (1990). Essential of Psychological testing. (5th ed). New York: Haper Collins.
8. Yamane, Taro. (1970). Statistics: And Introductory Analysis. (2nd ed). New York: Harper & Row.