ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดระยอง

Main Article Content

ปรีชา คำมาดี
ประสพชัย พสุนนท์

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดระยอง ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน จำแนกตามเพศ สถาบัน คณะวิชา และระดับชั้นปี ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกกับการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดระยอง และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดระยอง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในจังหวัดระยอง จำนวน  350 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบ เพื่อวัดความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันโพรดักโมเมนต์(Pearson product moment correlation coefficient) โดยมีการทดสอบระดับนัยสำคัญที่ 0.01 และการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ (multiple regression analysis) การทดสอบระดับนัยสำคัญที่ 0.05


       ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้


  1. ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยภายนอกมีผลต่อจิตสาธารณะมากกว่าปัจจัยภายใน โดยปัจจัยภายนอกมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.00) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า การสนับสนุนจากครอบครัว มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และปัจจัยภายในมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.31) การรับรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษา ประกอบไปด้วย เพศ สถาบัน ระดับชั้นปี คณะวิชาที่ต่างกัน ไม่ทำให้นักศึกษามีจิตสาธารณะแตกต่างกัน

  2. ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์กับการมีจิตสาธารณะ ปัจจัยภายใน (R = -0.272) ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม  และปัจจัยภายนอก
    (R =0.200) ได้แก่การสนับสนุนจากครอบครัว มีความสัมพันธ์กับการมีจิตสาธารณะของนักศึกษา โดยพบว่าปัจจัยภายในมีความสัมพันธ์กับการมีจิตสาธารณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

  3. ผลการศึกษาการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ระหว่างการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาและปัจจัยที่มีผลต่อการมีจิตสาธารณะ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่มีต่อการมีจิตสาธารณะ ในการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่าปัจจัยภายในมีผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักศึกษา ร้อยละ 8.5 ในขณะที่ปัจจัยภายนอกมีผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักศึกษาเพียงร้อยละ 6.0

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ณัฐพงศ์ ดีไพรและศักดิ์สายันต์ ใยสามเสน. (2553). ปัจจัยที่สงผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.
2. บุญญานนท์ ศรีโท. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับการมีจิตสาธารณะของสมาชิกครอบครัวอาสา มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
3. บุญธิดา ยอดสุวรรณ. (2556). ระดับความมีจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
4. พนม เกตุมาน. (2550). ปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.psyclin.co.th 2557, 10 พฤศจิกายน.
5. พรพรหม พรรคพวก. (2550). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ในสหวิทยาเขตกรุงเทพตะวันออก. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
6. ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม และสังคม สัญจร. (2543). สำนึกไทยที่พึงปรารถนา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
7. เรียม นมรักษ์. (2552). การวิเคราะห์องค์ประกอบของจิตสาธารณะของนักศึกษาในองค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง
8. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2542). วาระการวิจัยแห่งชาติในภาวะวิกฤติเพื่อฟื้นฟูชาติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
9. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.nfe.go.th [2557, 12 ตุลาคม].
10. อ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2554). ปัจจัยที่สงผลต่อจิตสาธารณะของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
11. Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika. 16, p. 297-334.