การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กในปัจจุบันของประเทศไทย โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตราด 2) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสำหรับร้านค้าปลีกของผู้ประกอบการ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตราด 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการจากการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจค้าปลีกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตราด จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ใช้ตัวอย่างในการศึกษา จำนวน 191 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ค่า t - test และANOVA
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าปลีก ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ร้อยละ 69.1 มีอายุน้อยกว่า 31 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.32 มีระดับการศึกษาอนุปริญญา คิดเป็นร้อยละ 28.80 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 50,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 48.17 ประเภทร้านค้าเป็นร้านโชว์ห่วย (ร้านขายของชำทั่วไป) คิดเป็นร้อยละ 48.69 การดำเนินธุรกิจเป็นธุรกิจของครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 53.4 การตัดสินใจโดยเจ้าของร้านคนเดียว คิดเป็นร้อยละ 57.07 สมาชิกในครอบครัว 1-3 คน คิดเป็นร้อยละ 59.69 ไม่มีพนักงานในร้าน คิดเป็นร้อยละ 65.97 ระยะเวลาดำเนินธุรกิจ 1-5 ปี คิดเป็นร้อยละ 50.26 และแหล่งเงินทุนเป็นเงินส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 94.24
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าปลีก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตราด ด้านการพัฒนาขีดความสามารถการเปลี่ยนแปลง ด้านการผนึกกำลังและขยายผลการเปลี่ยนแปลง ด้านการสร้างความรู้เพื่อความยั่งยืนของร้านค้าในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการวางแผนกลยุทธ์ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อศึกษาความคิดเห็นด้านการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าปลีก จำแนกตามข้อมูลภูมิหลังของผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าปลีก ในภาพรวมพบว่า เพศ อายุ รูปแบบการดำเนินธุรกิจ จำนวนพนักงานในร้านค้า ระยะเวลาดำเนินธุรกิจ และแหล่งเงินทุนต่างกัน มีการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าปลีกแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนระดับการศึกษา ระดับรายได้ต่อเดือน ประเภทร้านค้า การตัดสินใจ และจำนวนสมาชิกในครอบครัวต่างกัน มีการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าปลีกแตกต่างกันแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการ ได้แก่ ตันทุนราคาสินค้าสูง จำนวนร้านค้าประเภทเดียวกันเพิ่มขึ้นทำให้ลูกค้าลดลง ประเภทสินค้ามีเพิ่มมากขึ้นทำให้ไม่สามารถจัดหามาให้พร้อมกับความต้องการลูกค้าได้ครบ ลูกจ้างทำงานได้ไม่นานหาลูกจ้างเป็นงานยาก และลูกค้าเปลี่ยนไปซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้ามากขึ้นเข้าร้านน้อยลง
Article Details
References
สถาบันพระปกเกล้า.
2. ดำรงศักดิ์ ชัยสนิท. (2536). การบริหารการค้าปลีก. กรุงเทพฯ : วังอักษร.
3. _______. 2538 ก. กลยุทธการตลาด. กรุงเทพฯ : วังอักษร.
4. _______. 2538 ข. หลักการตลาด. กรุงเทพ : วังอักษร.
5. ผุสดี รุมาคม. (2536). การบริหารธุรกิจขนาดย่อม. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
6. วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2546). ครบเครื่องเรื่องบริหารธุรกิจขนาดย่อม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สมาคม ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
7. Kabodian, Armen, J. (2541). ข้อคิดพิชิตใจลูกค้า. แปลจาก The customer is Always Right! โดย สุภาลักษณ์ บัญชรเทวกุล. กรุงเทพฯ : แมคกรอ-ฮิล อินเตอร์เนชั่นแนล
เอ็นเตอร์ไพรส์, อิงค์.
8. Kotter, J.P. (1996). Leading Change. Boston MA : Harvard Business School Press.