การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1

Main Article Content

ธีรา ชุณสนิท

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยความเข้าใจ ในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัย และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1


          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 จำนวน 341 คน จากโรงเรียน 17 โรง ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด ได้แก่ แบบทดสอบเพื่อสำรวจชนิดเติมคำ จำนวน 8 ฉบับ 160 ข้อ และแบบทดสอบวินิจฉัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 8 ฉบับ 160 ข้อ ซึ่งสร้างจากแบบทดสอบเพื่อสำรวจ นำไปทดสอบ 3 ครั้ง ใช้ทดสอบครั้งที่ 1 เพื่อศึกษาความเหมาะสมและความถูกต้องด้านภาษาและความเหมาะสมของระยะเวลาในการทดสอบ ใช้ทดสอบครั้งที่ 2 เพื่อวิเคราะห์หาคุณภาพ คัดเลือกไว้และปรับปรุง ทดสอบครั้งที่ 3 ใช้ทดสอบเพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่องทักษะความเข้าใจในการอ่านของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


       ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


  1. การทดสอบครั้งที่ 1 พบว่า แบบทดสอบวินิจฉัย 8 ฉบับ จำนวน 160 ข้อ มีความตรงเชิงเนื้อหาโดยใช้ดุลยพินิจจากผู้เชี่ยวชาญ เป็นแบบทดสอบที่มีคุณภาพสามารถวัดการอ่านเพื่อความเข้าใจได้จริง และมีความเหมาะสมและความถูกต้องด้านภาษาและความเหมาะสมของระยะเวลาในการทดสอบ

  2. การทดสอบครั้งที่ 2 พบว่า แบบทดสอบวินิจฉัย 8 ฉบับจำนวน 160 ข้อ พบว่ามีค่าความยากรายข้อตั้งแต่ .07 ถึง .91 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ -.12 ถึง .84 นำไปปรับปรุงแล้วนำไปทดสอบครั้งที่ 3

  3. การทดสอบครั้งที่ 3 พบว่า แบบทดสอบวินิจฉัย 8 ฉบับ จำนวน 160 ข้อ พบว่ามีค่าความยากรายข้อตั้งแต่ .21 ถึง .85 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .20 ถึง .65 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .52 ถึง .82 คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 30 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.16, 3.26, 4.33, 4.58, 4.27, 3.77, 2.95, 3.13  และคะแนนจุดตัดเท่ากับ 10.04

  4. ผลการวิเคราะห์หาข้อบกพร่องของแบบทดสอบวินิจฉัย จากการสอบครั้งที่ 3 พบว่านักเรียนมีข้อบกพร่องเรียงจากมากไปหาน้อย คือ ทักษะความหมายของประโยค  ทักษะความหมายของคำในเนื้อเรื่อง  ทักษะ การอ่านแบบวิพากษ์วิจารณ์  ทักษะการตีความ  และทักษะมโนภาพของข้อความ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล. (2545). แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในเอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมิน หน่วยที่ 5 245-253 นนทบุรี :
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์.
2. กาญจนา ทนันไชย. (2548). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยการเขียนสะกดคํา นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. วิทยา นิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
3. จริญญา กะหละหมัด. (2549). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉยัทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียน เอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
4. บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น,
5. พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2552). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิส.
6. มนตรี จรียานุวัฒ์. (2538). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน สําหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
7. มาลา โชติเพิ่ม. (2537). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการอ่านภาษาไทยสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
8. รัชสิรินธร์ ศรีจันทร์แจ่ม. (2551). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยทักษะการอ่านและ การเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
9. เรืองยศ เรืองแหล่. (2540). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
10. วิชาการ, กรม. (2539). แนวทางการสร้างแบบสอบวินิจฉัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรสุภาลาดพร้าว.
11. ศรีศักดิ์ ยุทธไกร. (2535). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉยัการเรียน เรื่อง การบวก ลบ คูณ และหาร เศษส่วน สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ มหาสารคาม.
12. ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
13. สมนึก ภัททิยธนี. (2549). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
14. สารีย์ เจริญจิต. (2546). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยการอ่านจับใจความสําหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
15. สุนันทา วามะเกตุ. (2552). การสร้างแบบสอบวินิจฉัยความบกพร่องในการอ่านจับใจความ วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
16. เสาวนีย์ ศิริบุญหลง. (2535). ผลของตำแหน่งของคำถามประกอบการอ่านที่มีต่อความเข้าใจในเนื้อเรื่องของนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางภาษาแตกต่างกัน.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
17. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. (2556). รายงานผลการสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) การประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน (NT)
การประเมินคุณภาพการศึกษาระดับเขตพื้นที่ (LAS) ปีการศึกษา 2555.
18. โอเล็ต แสงไสย. (2554). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD เรื่อง การอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
19. Ahman, Stanley J. and Glock, Mavin D. (1967). Evaluating Pupil Growth Principle of Tests and Measurement. 3rd ed. Boston : Allyn and Bacon, Inc.
20. Brown, Frederick G. (1970).Principle Educational and Psychological Testing. Hindale : The Dryden Press.
21. Gronlund, Norman E. (1976). Measurement and Evaluation in Teaching. New York : Holt, Rinehart and Winston.
22. Harcourt Brace Jovanovich, Inc. (1973). The Delvelopment and Managament of a Pilot Project for a Reading Assessment System. Symposium paper presents
at the Annual Meeting of the American Educational Research Association, (April 1982) : 56 p.
23. Singha, H.S. (1974). Modern Educational Testing. New Delhi : Sterling Pub.