การพัฒนาเครื่องสีข้าวและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวสารของสมาชิกกลุ่มชาวนา ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องสีข้าวและการออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวสารของสมาชิกกลุ่มชาวนา ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีจากเครื่องต้นแบบและเพื่อพัฒนาออกแบบรรจุภัณฑ์ถุงข้าวสารขนาด 5 กิโลกรัม ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องสีข้าวจากเครื่องต้นแบบที่ไม่มีไซโคลนดูดรำ พบว่าผลการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องสีข้าว 3 ครั้ง ได้แกลบ รำ ข้าวหัก และข้าวสาร ค่าเฉลี่ยรวม คิดเป็นร้อยละ 11.30 ,10.00 ,18.30 และ 60.30 และ ผลการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องสีข้าวจากเครื่องที่พัฒนาที่มีไซโคลนดูดรำทั้ง 3 ครั้งพบว่า ประสิทธิภาพของเครื่องสีข้าว ได้แกลบ รำ ข้าวหัก และข้าวสาร ค่าเฉลี่ยรวม คิดเป็นร้อยละ 8.00 , 8.00 , 11.30 และ 72.60 และจากการการทดสอบ พบว่า ประสิทธิภาพของเครื่องที่พัฒนาแล้ว สามารถสีข้าวได้ผลดีกว่าเครื่องต้นแบบจากเดิมข้าวสารอยู่ที่ร้อยละ 60.30 เพิ่มมาเป็นร้อยละ 72.60 ผลการทดสอบสมรรถนะของเครื่องสีข้าวจากเครื่องที่ไม่มีไซโคลนดูดรำและมีไซโคลนดูดรำทั้ง 3 ครั้งพบว่า สมรรถนะของเครื่องสีข้าวที่ไม่มีไซโคลนดูดรำ ที่ดีที่สุด คือการทดสอบครั้งที่ 2 ใช้เวลา 7.50 นาที ข้าวสารรวม 8.00 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 64.00 และ สมรรถนะของเครื่องสีข้าวมีไซโคลนดูดรำ ที่ดีที่สุด คือการทดสอบครั้งที่ 3 ใช้เวลา 6.10 นาที ข้าวสารรวม 8.40 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 83.16 การสำรวจความพึงพอใจในรูปแบบของการออกแบบผลิตภัณฑ์บรรจุถุงข้าวสาร กลุ่มชาวนา ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 50 คน ได้ผลการสำรวจคือ ความพึงพอใจ โดยภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าความพึงพอใจ มีค่าความพึงพอใจมากที่สุด ( =4.38) คือ ความสะดวกต่อการบรรจุ เพื่อนำข้อมูล มาใช้ในการออกแบบตรงความต้องการของผู้ใช้งานจริง การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม และได้ลงทุนเครื่องสีข้าวราคา 80,000 บาท พบว่า จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่การผลิต 13,424 กก./ปี และสามารถคืนทุนได้ภายในระยะเวลา 1 ปี 4 เดือน
Article Details
References
2. ชูเกียรติ กาญจนภรางกูร สุวัฒน์ชัย ไชยพันธ์ และสุคนรัตน์ ศรีมงคล. (2551). การออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นผู้วิจัยได้คัดเลือกบรรจุภัณฑ์ของสินค้าในท้องถิ่น จังหวัดนครราชสีมา. ปริญญานิพนธ์ คณะออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน.
3. นิทัศน์ ตั้งพินิจกุล. 2547. การวิจัยและพัฒนาเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก. สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
4. บันลือ ทิพย์พิมพ์วงศ์ และศิริพงศ์ เสาร์วงค์. (2542). เครื่องสีข้าวกล้องขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
5. ฝ่ายวิจัยและฝึกอบรมสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกฉียงเหนือ. เครื่องสีข้าวครอบครัว.
6. มณฑลี ศาสนนันทร์. (2550). การออกแบบผลิตภัณฑ์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7. รุ่งเรือง กาลศิริศิลป์. (2553). เครื่องจักรกลการเกษตร 2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
8. ลัดดา โศภนรัตน์. (2546). อิทธิพลของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภค.กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.
9. วันชัย วิจิรวนิช และ ชอุ่ม พลอยมีค่า. (2538). เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
10. ศรีวัย สิงหคเชนทร์ วิบูลย์ เทเพนทร์ ไมตรี แนวพานิช และสุภัทร หนูสวัสดิ์ (2536 ). ออกแบบเครื่องสีข้าวขนาด 300 กก./ชม. กรุงเทพฯ :กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
11. ศักดา อินทรชัย และ คณะ . (ม.ป.ป.) เครื่องสีข้าวขนาดเล็กเคลื่อนย้ายได้. ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชาเกษตรกลวิธาน.
12. สราญจิต หรุ่นขำ. (2550). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์จากข้าวประเภทขนมหวานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทุ่งสวน ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
13. สุวัฒน์ สงวนเขียว สัมพันธ์ คงเจริญ และนิพนธ์ จงไพศาลสกุล. (2544). เครื่องสีข้าวขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
14. สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี . พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547.สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2553. การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.oae.go.th/ewt_news. php?nid=6582(วันที่ค้นข้อมูล 23 ตุลาคม 2555)
15. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2555. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 4004-2555. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. กรุงเทพฯ
16. องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอน. (ม.ป.ป.). รายชื่อกลุ่มเกษตรกรชาวนากลุ่มข้าวชุมชน เพื่อเกษตรอินทรีย์ ตำบลตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี.
17. องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอน. 2549. ข้อมูลพื้นฐานตำบลตะปอน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.abt-tapon.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=312543 (วันที่ค้นข้อมูล 23 ตุลาคม 2555)
18. อภินันท์ ใจกว้าง,สมบูรณ์ สารสิทธิ์และธนาภรณ์ เมืองมุงคุณ. 2553. การสร้างและทดสอบเครื่องสีข้าวกล้องชุมชนชนิดลูกยางคู่. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
19. เฉลิมพล แก้วพะเนาว์, มงคล คธาพันธ และนิคม เรไร. การออกแบบเครื่องสีข้าวกล้องขนาดครอบครัว. วารสารวิจัยและฝึกอบรม, 10(2),83-84