ยุทธศาสตร์พลังงานสีเขียวจังหวัดสิงห์บุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพพลังงานสีเขียวที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ของจังหวัดสิงห์บุรี นำเสนอยุทธศาสตร์พลังงานสีเขียวเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี และแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี รวมไปถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาของกระทรวงพลังงานด้วย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และใช้การสัมภาษณ์ผู้บริหารภายในจังหวัดสิงห์บุรี และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดยุทธศาสตร์พลังงานจำนวน 27 ท่าน โดยนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์โดยใช้ SWOT Analysis เพื่อกำหนดเป็นกลยุทธ์การพัฒนาด้านพลังงานสีเขียว และนำกลยุทธ์นั้นมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์พลังงานสีเขียว จำนวนทั้งหมด 4 ยุทธศาสตร์ โดยมีการประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมจากผู้บริหารและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 6 ท่าน แล้วว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง
ผลการศึกษา พบว่า พลังงานสีเขียวที่มีศักยภาพในการส่งเสริมมี 2 ชนิด คือ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานชีวมวล ตามลำดับ ซึ่งเป็นพลังงานที่สามารถพัฒนาให้เป็นพลังงานสำรองของจังหวัดได้ อีกทั้งยังเป็นการลดการนำเข้าพลังงานภายนอกจังหวัด และเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ด้านสังคมและเศรษฐกิจ เป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นพลังงาน สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และสามารถพัฒนาเป็นอาชีพได้ การกำหนดยุทธศาสตร์พลังงานสีเขียวจังหวัดสิงห์บุรี ได้นำกลยุทธ์ที่ได้ทำการประเมินไว้แล้วมาจัดกลุ่มและกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาได้ 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การจัดหาและพัฒนาศักยภาพพลังงานสีเขียว ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานสีเขียว ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและส่งเสริมการใช้พลังงานสีเขียว และยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การ
Article Details
References
2. กระทรวงพลังงาน. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2554). ก. คู่มือการพัฒนาและลงทุนผลิตพลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สารสนเทศข้อมูลพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน.
3. กระทรวงพลังงาน. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2554). ข. คู่มือการพัฒนาและลงทุนผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวล. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สารสนเทศข้อมูลพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน.
4. กระทรวงพลังงาน. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2554) ค. คู่มือการพัฒนาและลงทุนผลิตพลังงานทดแทนจากก๊าซชีวภาพ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สารสนเทศข้อมูลพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน.
5. กระทรวงพลังงาน. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2554) ง. คู่มือการพัฒนาและลงทุนผลิตพลังงานทดแทนจากลม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สารสนเทศข้อมูลพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน.
6. กระทรวงพลังงาน. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2554). จ. คู่มือการพัฒนาและลงทุนผลิตพลังงานทดแทนจากขยะ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สารสนเทศข้อมูลพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน.
7. กระทรวงพลังงาน. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (2555). รายงานการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย 2555. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สารสนเทศข้อมูลพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน.
8. กระทรวงการคลัง. (2557). การบริหารยุทธศาสตร์ภาครัฐ. ค้นวันที่ 24 สิงหาคม 2557 จาก http://www3.djop.moj.go.th/plan/attach/knowledge_1356327357_Strate
gic%20Management%20in%20public%20Sector.pdf
9. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรมควบคุมมลพิษ. (2555). สถิติปริมาณขยะมูลฝอย จำแนกเป็นรายจังหวัดในภาคกลาง พ.ศ. 2550-2552. กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
10. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรมควบคุมมลพิษ. (2555). สถานการณ์ของขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี 2556. กรุงเทพมหานคร: กรมควบคุมมลพิษ.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
11. กระทรวงพลังงาน. (2557). ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2557 - 2561. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพลังงาน จักษวัชร ศิริวรรณ. (2557). แนวคิด ความสำคัญ และกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์. ค้นวันที่ 1 มิถุนายน 2557 จาก http://www.gotoknow.org/posts/437659
12. ณิชยารัตน์ พาณิชย์. (2556). แนวทางการบริหารจัดการพลังงานหมุนเวียนในระดับชุมชนของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535. ราชกิจจานุเบกษา. ฉบับกฤษฎีกา 109, 33ก (2 เมษายน): 1-20.
13. ปวีนา หีมโหด. (2556). แนวทางในการปฏิบัติตามนโยบายพลังงานสีเขียวในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
14. มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม. (2550). พลังงานสีเขียว. ค้นวันที่ 1 มิถุนายน 2557 จาก http://www.efe.or.th/gem.php
15. มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม. (2556). ความรู้เรื่องพลังงานหมุนเวียน. ค้นวันที่ 1 มิถุนายน 2557 จาก http://www.efe.or.th/efe-book.php?task=22
16. ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). ศักยภาพ. ค้นวันที่ 6 สิงหาคม 2557 จากhttp://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=3937
17. วารุณี วรพันธ์. (2557). พลังงานสิ้นเปลือง. ค้นวันที่ 1 มิถุนายน 2557 จาก https://sites.google.com/a/ttc.ac.th/varunee2554ttc/bth-thi-2-phlangngan-sin-peluxng
18. วิกิพีเดีย. (2557). พลังงานแสงอาทิตย์. ค้นวันที่ 1 มิถุนายน 2557 จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%
E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C
19. วิสาขา ภู่จินดา. (2551). การประยุกต์หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการและการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ. เอกสารวิจัย เสนอต่อคณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.
20. วีระชาติ จริตงาม. (2551). การศึกษาศักยภาพและแนวทางพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในจังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
21. ศราพร ไกรยะปักษ์. (2553). รูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการพลังงานชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
22. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (2556). ก. ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านบริหารจัดการ พลังงาน. ค้นวันที่ 23 ตุลาคม 2556 จาก research.dusit.
ac.th/new_ver/nrct/10.pdf
23. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. (2556). ข. ยุทธศาสตร์การวิจัยรายประเด็นด้านพลังงานทดแทน. ค้นวันที่ 23 ตุลาคม 2556 จาก research.dusit.
ac.th/new_ver/nrct/10.pdf
24. สมพร แสงชัย. (2548). การวางแผนเชิงกลยุทธ์ภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
25. สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. (2556). แผนที่จังหวัดสิงห์บุรี. สิงห์บุรี: สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี.
26. สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. (2556). สรุปข้อมูลจังหวัดสิงห์บุรี. สิงห์บุรี: สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี.
27. สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557). สรุปข้อมูลจังหวัดสิงห์บุรี. สิงห์บุรี: สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี.
28. สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2557). สถานการณ์พลังงานในช่วงปี 2542-2554. ค้นวันที่ 17 มิถุนายน 2557 จาก http://www.eppo.go.th/doc/doc-edp-r-3.html
29. สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2556). ก. แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (AEDP). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน.
30. สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2556). ข. แผนพัฒนาพลังงานทดแทน 15 ปี (AEDP). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน.
31. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสิงห์บุรี. (2556). ข้อมูลสัตว์. สิงห์บุรี: สำนักงานจังหวัดสิงห์บุรี.
32. สำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2557). คู่มือส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการผลิตก๊าซชีวภาพ ระดับครัวเรือนและชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
33. เสรี กังวานกิจ. (2548). การพัฒนาแบบจำลองการใช้พลังงานชุมชนชนบทระดับหมู่บ้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.