ผลของสารเคมี Prochloraz, Benomyl, Carbendazim, Azoxystrobin, Mancozeb และ Copper oxychloride ต่อการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของแก้วมังกร

Main Article Content

พิกุล นุชนวลรัตน์
อัจฉรา บุญโรจน์

บทคัดย่อ

ผลการนำสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช 6 ชนิดในอัตราแนะนำ ได้แก่ Prochloraz 50%WP อัตรา 20 มิลลิลิตร/20 ลิตร, Benomyl 50%WP อัตรา 10 กรัม/20 ลิตร, Carbendazim 50%WP อัตรา 15 กรัม/20 ลิตร, Azoxystrobin 25%SC อัตรา 10 มิลลิลิตร/20 ลิตร, Mancozeb 50%WP อัตรา 50 กรัม/20 ลิตร และ Copper oxychloride 50%WP อัตรา 80 กรัม/20 ลิตร มาทดสอบผลในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสบนลำต้นและผลแก้วมังกร ทำการทดลองบนอาหาร PDA ด้วยวิธี poisoned food technique วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 7 ทรีตเม้นท์ 5 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่าสารเคมี Prochloraz และ Mancozeb ยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides ได้เท่ากับ 100.00 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม รองลงมาได้แก่ Carbendazim, Benomyl, Copper oxychloride และ Azoxystrobin พบว่ามีผลยับยั้งเท่ากับ 91.26, 88.33, 65.41 และ 31.73 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เครือวัลย์ ดาวงษ์ และ ยศพล ผลาผล. (2555). การป้องกันและแก้ปัญหาโรคระบาดในการผลิตแก้วมังกรคุณภาพ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://scia.chanthaburi.
buu.ac.th/research/file/dragon-fruit.pdf. 2555.
2. ชลิดา เล็กสมบูรณ์. (2554). โรคพืชและการวินิจฉัย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
3. ธรรมศักดิ์ สมมาตย์. (2543). สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ.
4. นิพนธ์ วิสารทานนท์ และจงรักษ์ จารุเนตร. การทดสอบควบคุมโรคแอนแทรคโนสบนผลมะม่วงพันธุ์แรดด้วยสารเคมี 7 ชนิดโดยวิธีปลูกเชื้อ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://kucon.lib.ku.ac.th/cgi-bin/KUCON.exe?rec_id=005290&database=KUCON&search_type=link&table=mona&back_path=/KUCON/mona&lang=thai&format
_name=TFMON. 2537.
5. นิพนธ์ วิสารทานนท์. (2542). โรคมะม่วง. เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการหลักสูตร “หมอพืช-ไม้ผล” ฉบับที่ 6. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
6. สุธาสินี ชัยชนะ. (2550). ลักษณะของเชื้อรา Colletotrichum spp. ที่ทนทานต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อรา คาร์เบนดาซิมในผลไม้. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
7. อุดร อุณหวุฒิ พรพิมล อธิปัญญาคม ศรีสุรางค์ ลิขิตเอกราช พจนา ตระกูลสุขรัตน์ ดรุณี ปุญญพิทักษ์ บูรณี พั่ววงศ์แพทย์ นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล อมรรัตน์ ภูไพบูลย์. การศึกษาชนิดของโรคแก้วมังกรและกวนอิมเพื่อการส่งออก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://it.doa.go.th/refs/files/408_2550.pdf. 2553.
8. Agrios, G. N. (1997). Plant pathology, 4th ed. Academic Press, New York.
9. Arauz, L.P. (2000). Mango anthracnose: Economic impact and current options for integrated management. Plant Disease 84: 600-611.
10. Lau, C.Y., Othman, F., and Eng, L. The Effect of the heat treatment, different packaging methods and storage temperatures on shelf life of dragon fruit (Hylocereus spp.). [online]. Available: http://www.doa.sarawak.gov.my/images/dragonfruit.pdf. 2008.
11. Masyahit, M., Sijam, K., Awang, Y., and Satar, M.G.M. (2009). The first report of the occurrence of anthracnose disease caused by Colletotrichum gloeosporioides (Penz.) Penz.&Sacc. on dragon fruit (Hylocereus spp.) in Peninsular Malaysia. American Journal of Applied Science 6: 902-912.
12. Palmateer, A. J., and Ploetz, R. C. (2007). Occurrence of anthracnose caused by Colletotrichum gloeosporioides on pitahaya. Plant Disease 91: 631.
13. Sundravadana, S., Alice, D., Kuttalam, S., and Samiyappan, R. Efficacy of Azoxystrobin on Colletotrichum gloeosporioides Penz. growth and on controlling mango anthracnose. [online]. Available: www.arpnjournals.com/jabs/research_papers/rp.../jabs_0507_48.pdf. 2013.