การประยุกต์ใช้สเตรนเกจวัดน้ำหนักวัตถุบนพื้นเอียง

Main Article Content

ณัฏฐิกา สมัยมงคล
ชีวะ ทัศนา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและพัฒนาชุดทดลองสำหรับศึกษากฎข้อที่หนึ่งของนิวตันและแรงในแนวตั้งฉากด้วย การชั่งน้ำหนักของวัตถุบนพื้นเอียงที่ทำจากไม้ขนาด 15.0x50.0 เซนติเมตร โดยใช้สเตนเกจเป็นเครื่องชั่ง ผลการทดลองชั่งตุ้มน้ำหนักมาตรฐานมวล 100 กรัม และ 200 กรัม โดยทำการปรับมุมของพื้นไม้ให้เอียงทำมุม  ต่างๆ กับแนวระนาบ พบว่า  ที่มุม 15 องศา ถึง 60 องศา ชุดทดลองของเราสามารถชั่งน้ำหนักของวัตถุได้สอดคล้องกับค่าที่ได้จากการคำนวณ ซึ่งน้ำหนักของวัตถุทั้งสอง ( และ ) มีค่าลดลงตามการเพิ่มขึ้นของมุม ซึ่งสามารถเขียนสมการแสดงความสัมพันธ์ได้เป็น  และ  ตามลำดับ ดังนั้นเราจึงสามารถสรุปได้ว่าน้ำหนักของวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับมุมของพื้นเอียงและเป็นไปตามแรงในแนวตั้งฉาก  ซึ่งผลการทดลองจากเครื่องมือที่สร้างขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการคำนวณทางทฤษฎี พบว่าทั้งสองค่ามีความใกล้เคียงและแม่นยำอย่างยิ่ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ร.ศ.พ..
2. ก่องกัญจน์ ภัทรากาญจน์ และ ธนกาญจน์ ภัทรากาญจน์. (2548). เชิญรู้จักฟิสิกส์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. ชาวสวน กาญจโนมัย. อุปกรณ์วัดความเครียด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://charnnarong. me.engr.tu.ac.th/charnnarong/My%20classes/ME321/Lab3.pdf. (วันที่ค้นข้อมูล : 15 ก.ค. 56).
4. ชูชาติ อารีจิตรานุสรณ์. เครื่องชั่ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://home.kku.ac.th/chuare/12/ balance.pdf.(วันที่ค้นข้อมูล : 25 ก.ค. 56).
5. ฐิติรัตน์ จารุวาระกูล. (2548). การสอบเทียบเครื่องชั่ง. รายงานวิชาการฉบับที่ สอพ. 5/2548 สำนักอุตสาหกรรมพื้นฐาน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่.
6. ปริญญา รจนา. สเตรน เกจ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://teacher.snru.ac.th/parinya/sheet/filedoc/sensor.pdf.(วันที่ค้นข้อมูล : 2 ธ.ค. 55).
7. ยัง, ฮิวด์ ดี. และฟรีดแมน, โรเจอร์ เอ. (2547). ธรรมชาติของฟิสิกส์. (แปลจาก University Physics with Modern Physics โดย ปิยพงษ์ สิทธิคง). กรุงเทพฯ : เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่นอินโดไชน่า จำกัด.
8. _______. (2547). มวลและน้ำหนัก. (แปลจาก University Physics with Modern Physics โดยปิยพงษ์ สิทธิคง). กรุงเทพฯ : เพียร์สันเอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด.
9. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ทำไมต้องเรียนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ร.ศ.พ..
10. อัจฉรา พันธุ์อำไพ และคณะ. (2543). หน่วยของแรง มวล น้ำหนัก. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
11. Zobel, E.D. (2011). Inclined Plane, Angle and Components. (Online). Available : http://zonalandeducation.com/mstm/physics/mechanics/forces/inclinedPlane/angleAndComponents/angleAndComponents.html. (25 April 2014).