การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมชนิดเม็ดผสมมังคุด
Main Article Content
บทคัดย่อ
มังคุด (Garcinia mangostana Linn.) เป็นผลไม้เขตร้อนที่อุดมด้วยแร่ธาตุ วิตามิน และเส้นใยอาหาร รสหวานตามธรรมชาติได้จากน้ำตาลซูโครส และน้ำตาลรีดิวซ์คือฟรักโทสและกลูโคส งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์นมชนิดเม็ดผสมมังคุดเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์นมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลรีดิวซ์ และมีเส้นใยสูง โดยทำการแปรผันอัตราส่วนระหว่างนมผงสำเร็จรูปต่อเนื้อมังคุดเข้มข้น (65-67 องศาบริกซ์) โดยการวางแผนการทดลองแบบ Complete Randomized Design (CRD) จำนวน 5 สิ่งทดลอง คือ 100:0, 90:10, 80:20, 70:30 และ 60:40 ตามลำดับ ทำการอบแห้งของผสมที่ได้ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง พบว่าทั้ง 5 สิ่งทดลองสามารถตอกอัดโดยตรงเพื่อขึ้นรูปเป็นเม็ดได้โดยเติมสารหล่อลื่นและสารช่วยยึดเกาะคือแมกนีเซียม สเตียเรท และแป้งข้าวโพดดัดแปรในปริมาณร้อยละ 0.2 และ 5.0 โดยน้ำหนักตามลำดับ และเมื่อเพิ่มปริมาณเนื้อมังคุดเข้มข้นเกินร้อยละ 40 ของผสมที่ได้จับตัวกันเป็นก้อนแข็งยากต่อการทำเป็นผงเพื่อขึ้นรูปเป็นเม็ด
ผลการวิเคราะห์ทางด้านกายภาพ และเคมีของนมชนิดเม็ดผสมมังคุดให้ผลดังนี้ ปริมาณความชื้น และ น้ำอิสระ (aw) ของทั้ง 5 สิ่งทดลองไม่แตกต่างกัน โดยมีค่าในช่วงร้อยละ 3.5-4.2 และ 0.4-0.5 โดยน้ำหนักตามลำดับ ค่าความสว่างและค่าสีพบว่าเมื่อผสมเนื้อมังคุดเข้มข้นในสัดส่วนที่มากขึ้นจะทำให้นมชนิดเม็ดผสมมังคุดมีค่าความสว่างลดลงและให้สีน้ำตาลเข้มขึ้น ขณะที่ปริมาณเส้นใยและเถ้าเป็นไปตามที่คาดหวังไว้ คือปริมาณเส้นใยมีค่าเพิ่มขึ้น และปริมาณเถ้ามีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญตามปริมาณเนื้อมังคุดเข้มข้นที่เพิ่มขึ้น โดยสิ่งทดลองที่ 5 (60:40) ให้ค่าเส้นใยสูงสุดและในทางกลับกันให้ค่าเถ้าต่ำสุดโดยคิดเป็น 1.5 และ 0.7 เท่าของสิ่งทดลองที่ 1 (100:0) ตามลำดับ ส่วนปริมาณวิตามินซีของทั้ง 5 สิ่งทดลองนั้นไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
2. วรรณา ตั้งเจริญชัย และวิบูลย์ศักดิ์ กาวิละ. (2531). นมและผลิตภัณฑ์นม. กรุงเทพฯ โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. 267 หน้า.
3. วารี ลิมป์วิกรานต์. (2556). การละลายของเม็ดยา. ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. 25 หน้า.
4. สุธิวงศ์ พงษ์ไพบูลย์. (2556). การแปรรูปมังคุด. เข้าถึงได้จาก http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/mangosteen/used/01-02.php (25 มกราคม 2556).
5. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2551). ประโยชน์ของนม. เข้าถึงได้จาก http://www.thaihealth.or.th/partner/blog/5265. (15 มกราคม 2556).
6. สมศักดิ์ วรรณศิริ. (2541). มังคุด. พิมพ์ครั้งที่ 4. สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม. 62 หน้า.
7. อรพิน ชัยประสม. (2546). บทปฏิบัติการเทคโนโนยีของผลิตภัณฑ์นม. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ. 87 หน้า.
8. Black, R., Williams, S. M., Jones, I. E., Goulding, A. (2002). Children who avoid drinking cow milk have low dietary calcium intakes and poor bone health. Am J Clin Nutr 76: pp. 675–80.
9. Brown, L., Rosner, B., Willett, W. W., Sacks, F. M. (1999). Cholesterol-lowering effects of dietary fiber: a meta-analysis. Am J Clin Nutr 69: pp. 30–42.
10. Colombo, P. (1993). Swelling-Controlled release in hydrogel matrices for oral rout. Adv Drug Deliv