การจัดการขยะตรวจค้นของอาคารผู้โดยสารขาออก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

Main Article Content

คมชาญ เจือจ้อย
วิสาขา ภู่จินดา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาขยะตรวจค้นในอาคารผู้โดยสารขาออก สนามบินสุวรรณภูมิ ตลอดจนการจัดการในปัจจุบัน เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นและความพึงพอใจในการปฏิบัติการตรวจของเหลว เจล สเปรย์ ที่มีปริมาตรเกินกำหนด รวมถึงวัตถุอันตรายต่าง ๆ และเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการขยะตรวจค้น ของอาคารผู้โดยสารขาออก สนามบินสุวรรณภูมิ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง  400 คน โดยวิธีการตอบแบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ ผลการวิจัยพบว่าในปัจจุบันสภาพปัญหาขยะตรวจค้นในอาคารผู้โดยสารขาออก สนามบินสุวรรณภูมิยังไม่ได้รับการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง อีกทั้งผู้โดยสารยังไม่ให้ความสนใจกับจุดประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการปฏิบัติการตรวจของเหลว เจล สเปรย์ ที่มีปริมาตรเกินกำหนด รวมถึงวัตถุอันตรายต่าง ๆที่ทางสนามบินจัดแสดงไว้ก่อนทำการเช็คอิน ด้านสายการบินมีการแสดงสื่อประชาสัมพันธ์ก่อนทำการเช็คอินแต่ค่อนข้างน้อย  อีกทั้งมีขนาดของสื่อที่มีขนาดเล็กจึงมิค่อยได้รับความสนใจจากผู้โดยสาร และการมีส่วนร่วม ปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นในปฏิบัติการตรวจของเหลว เจล สเปรย์ ที่มีปริมาตรเกินกำหนด รวมถึงวัตถุอันตรายต่าง ๆ คือ ผู้โดยสารที่มีเพศที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นในการปฏิบัติการตรวจของเหลว เจล สเปรย์ ที่มีปริมาตรเกินกำหนด รวมถึงวัตถุอันตรายต่าง ๆ ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการรับทราบข้อมูลข่าวสาร และความเข้าใจในการปฏิบัติการตรวจของเหลว เจล สเปรย์ ที่มีปริมาตรเกินกำหนด รวมถึงวัตถุอันตรายต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นในปฏิบัติการตรวจของเหลว เจล สเปรย์ ที่มีปริมาตรเกินกำหนด รวมถึงวัตถุอันตรายต่าง ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการบินพลเรือน. 2556. กฏระเบียบนโยบาย.ค้นวันที่19 พฤษภาคม 2556จาก https://www.aviation.go.th/th/gov_law/37/
2. กรมอนามัย. 2553. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข 2535. ค้นวันที่ 2 ตุลาคม 2556 จาก: http://cyberclass.msu.ac.th/cyberclass/cyberclass- uploads/libs/html/31823/unit3_1_1.html.
3. เกษม จันทร์แก้ว และคณะ. 2542. สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
4. ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. 2552. สิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยา และการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์ทิพเนตร์การพิมพ์.
5. ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. 2556. ประวัติความเป็นมา. ค้นวันที่ 19 พฤษภาคม 2556จาก www.suvarnabhumiairport.com/th/265-security-information
6. บริษัท ท่าอากาศยานไทยจำกัดมหาชน. 2556. ประวัติความเป็นมา. ค้นวันที่ 19 พฤษภาคม 2556จาก http://www.airportthai.co.th/main/th
7. ปรัชญา เวสารัชช์. รายงานการวิจัย การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเพื่อพัฒนาชนบท ,กรุงเทพมหานคร : สถาบันไทยคดีศึกษา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2528
8. ปานกมล พิสิฐอรรถกุล (2546) ในส่วนของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ของ ประชาชนในการจัดการมูลฝอยชุมชน: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
9. พรรณี ตันติญานันท์ (255) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำจัดขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยบูรพา
10. อาณัติ ตะปันตา. 2553. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. Best, R. A. (1977). Research in Education. (3rd ed.). Engiewood Cliffs, New Jersy: Pretice Hall.
12. Cohen.John.M. and Uphoff Norman T. Participations Place in Rural Development :“Seeking Clarity Through Specificity” World Development ,1980.
13. Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGrow - Hill Book Co
14. Isaak, A. C. (1981). Scope and Method of Political Science:An Introduction to the Methodology of Political In Quiry. (3rd ed.). Illioni: The Dorsey Press.
15. Oskamp, S. (1977). Attitude Theory and Opinion. New Jersey: Prentice - Hall.
16. Remmer, H. H. (1954). Introduction to Opintions and Attitude. New York: Harper and Brothers Publisher Measurement
17. The Lexicon Webster dictionary. (1997). New York : The English Language Institude of America