แนวทางการพัฒนาตลาดนัดสีเขียวสำหรับคนเมือง

Main Article Content

ธนภูมิ อติเวทิน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาตลาดนัดสีเขียวซึ่งขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้บริบทสังคมเมืองสมัยใหม่ ทั้งในย่านชุมชนที่พักอาศัยและย่านธุรกิจการค้า เพื่อทำความเข้าใจมุมมองจากผู้ซื้อและผู้ขายเกี่ยวกับสินค้าและบริการสีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของวิถีชีวิตแบบตลาดนัดที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการดูแลรักษาสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวัน  


            ผลการศึกษาด้วยระเบียบวิธีเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตการณ์พบว่า ตลาดนัดสีเขียวในปัจจุบันปรากฏขึ้นในสองลักษณะ ได้แก่ ตลาดนัดสีเขียวที่พัฒนาขึ้นมาจากตลาดสดหรือตลาดนัดชุมชน กับตลาดนัดสีเขียวในย่านอาคารสำนักงานหรือสถานที่ราชการ โดยผู้บริโภคมีมุมมองว่า สินค้าสีเขียวหมายถึง สินค้าที่มีความสดใหม่ ใกล้ชิดกับแหล่งผลิตตามธรรมชาติ ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปหรือผ่านกระบวนการให้น้อยที่สุด การบริโภคหรือใช้สินค้าดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลจากวัฒนธรรมบริโภคนิยมจากกระแสของการดูแลสุขภาพควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและการปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานทางสังคม ของการเป็นผู้บริโภคที่มีจิตสำนึก ทั้งนี้ เอกลักษณ์ของตลาดนัดมาจากการมีสินค้าพิเศษประจำท้องถิ่นหรือประจำฤดูกาลที่ไม่สามารถหาซื้อได้จากร้านค้าสมัยใหม่หรือห้างสรรพสินค้า ราคาสินค้าที่สามารถต่อรองได้ รวมไปถึงปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กองบรรณาธิการนิตยสารครัว. (2555). ‘เที่ยวตลาดสด: จับจ่าย เรียนรู้ เข้าสู่พื้นที่ทางสังคม สัมผัสวัฒนธรรมและชีวิตผู้คน’ นิตยสารครัว ปีที่ 18 ฉบับที่ 207 (80-93).