การบริหารจัดการโรงสีชุมชนแบบมีส่วนร่วมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่ไปกับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวชุมชน ตำบลเกวียนหัก อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

เดชา วงศ์แก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างโรงสีข้าวชุมชน  2) เพื่อการบริหารจัดการโรงสีข้าวชุมชน แบบมีส่วนร่วม    ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่ไปกับภูมิปัญญาท้องถิ่น  3) ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวชุมชนตำบลเกวียนหักมีการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน วิธีดำเนินการวิจัยมีขั้นตอนคือ จัดให้มีการประชุมการทบทวนของโครงการ ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตรวจสอบได้ เน้นให้ชุมชนเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ  การทบทวนการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานโรงสีชุมชน มีกลไกเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนผลผลิตที่ได้จากโครงการวิจัยและจัดเวทีแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวชุมชนตำบลเกวียนหัก พัฒนาและสร้างขีดความสามารถและสร้างศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าสินค้าของผลิตภัณฑ์ เช่น ออกแบบบรรจุภัณฑ์ข้าวสารเชิงพาณิชย์ จัดหาตลาดสินค้าการเกษตรรองรับผลผลิต สร้างและขยายเครือข่ายการวิจัย ประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จของแผนงานวิจัยต่อเครือข่ายการวิจัยและหน่วยงานที่นำผลวิจัยไปใช้ จัดถ่ายทอดเทคโนโลยี เก็บรวบรวมข้อมูลความพึงพอใจในการอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการโรงสีชุมชน ประเมินผลของโครงการโดยวิธีการอบรมเสวนา


         ผลการวิจัย พบว่าประการแรกเกษตรกรบางรายใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแทนการใช้ปุ๋ยเคมีในนาข้าวส่งผลทำให้ปริมาณผลผลิตข้าวทางการเกษตรสูงขึ้นรวมทั้งลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกร 


            ประการที่สอง การเพิ่มรายได้โดยมีการจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุงไปแล้วทั้งหมด 1,500  กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 22 บาท เป็นจำนวนเงิน ทั้งสิน 33,000 บาท


            ประการที่สาม ลดรายจ่ายโดยส่วนแรก นำข้าวสาร 20 กิโลกรัม ไปแลกเปลี่ยนกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจำนวน 50 กิโลกรัม โดยแลกเปลี่ยนข้าวสารไปแล้วเป็นจำนวน 1,500  กิโลกรัม คิดเป็นจำนวนเงิน ทั้งสิน 33,000 บาท ได้ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจำนวน 74 กระสอบ  แกลบที่เหลือจากการสีนำไปแลกเปลี่ยนกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพได้  การลดรายจ่ายส่วนที่สองเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือนของสมาชิก คือ การนำข้าวเปลือกมาสีไว้รับประทานเองซึ่งเป็นไปตามหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข  จำนวน 2,000 กิโลกรัม


                จากผลงานวิจัยสามารถแก้ไขปัญหา คือ 1) ทำให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าวชุมชนตำบลเกวียนหัก ที่ดำรงชีวิตพออยู่พอกิน สมควรแก่อัตภาพเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้ในระดับหนึ่ง 2) เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนดีขึ้นจากการแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร ทำให้เพิ่มรายได้และ         ยังสามารถทำให้ชุมชนยกระดับ ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สมดุล มั่นคง ยั่งยืน รู้ รัก สามัคคี ทำงาน           อย่างมีความสุขได้ในระดับหนึ่ง 3) มีการพัฒนานำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมชุมชน              โดยการจำหน่าย เชิงพาณิชย์ของบรรจุภัณฑ์ข้าวสารบรรจุถุงขนาด 5 กก. ตราสินค้า “ข้าวสารเกวียนหัก”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2554). ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรม. เข้าถึงได้จาก : http://www2.diw.go.th/factory/ tumbol. asp (25 ธันวาคม2556).
2. กลุ่มวิจัยวิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร, 2548.
3. ข้าว. (2556). ข้าว. เข้าถึงได้จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ (14 มกราคม 2557).
4. จันทบุรี. (2556). จังหวัดจันทบุรี. เข้าถึงได้จาก : http://www.th.wikipedia.org (1 มกราคม 2557).